วิชาหลัก สาขาประถมศึกษา
1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ความเป็นครู
3. หลักภาษาไทย
4. โครงงานเพื่อการเรียนรู้
5. วิทยาศาสตร์กายภาพสำหรับครู
6. คณิตศาสตร์สำหรับครูระดับประถมศึกษา
7. พลศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา
8. เทคนิคการสร้างเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้
9. ภาษาไทยสำหรับครู
10. ภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับครู
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
12. ดนตรีสำหรับครูประถมศึกษา
13. นาฏศิลป์สำหรับครูประถมศึกษา
14. งานเกษตรสำหรับครูระดับประถมศึกษา
2. ความเป็นครู
3. หลักภาษาไทย
4. โครงงานเพื่อการเรียนรู้
5. วิทยาศาสตร์กายภาพสำหรับครู
6. คณิตศาสตร์สำหรับครูระดับประถมศึกษา
7. พลศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา
8. เทคนิคการสร้างเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้
9. ภาษาไทยสำหรับครู
10. ภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับครู
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
12. ดนตรีสำหรับครูประถมศึกษา
13. นาฏศิลป์สำหรับครูประถมศึกษา
14. งานเกษตรสำหรับครูระดับประถมศึกษา
1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความเป็นมา
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถ ในการแข่งขันในเวทีระดับโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔) พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ และ ความต้องการของท้องถิ่น (สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๒)
จากการวิจัย และติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรในช่วงระยะ ๖ ปีที่ผ่านมา (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ๒๕๔๖ ก., ๒๕๔๖ ข., ๒๕๔๘ ก., ๒๕๔๘ ข.; สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๔๗; สำนักผู้ตรวจราชการและติดตามประเมินผล, ๒๕๔๘; สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วิรัชชัย, ๒๕๔๗; Nutravong, ๒๐๐๒; Kittisunthorn, ๒๐๐๓) พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ มีจุดดีหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาทำให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง กับความต้องการของท้องถิ่น และมีแนวคิดและหลักการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาดังกล่าวยังได้สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่เป็นปัญหาและความ
ไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลายประการทั้งในส่วนของเอกสารหลักสูตร กระบวนการนำหลักสูตร สู่การปฏิบัติ และผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระและผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังไว้มาก ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน รวมทั้งปัญหาคุณภาพ ของผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลายประการทั้งในส่วนของเอกสารหลักสูตร กระบวนการนำหลักสูตร สู่การปฏิบัติ และผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระและผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังไว้มาก ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน รวมทั้งปัญหาคุณภาพ ของผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
นอกจากนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ( พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมไทยให้ มีคุณธรรม และมีความรอบรู้อย่างเท่าทัน ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง แนวการพัฒนาคนดังกล่าวมุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีสมรรถนะ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน (สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๔๙) ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑)
จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการใน การพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ ๒๑ จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ
เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ นี้ จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และจัดการเรียน
การสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับเห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งจะสามารถช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียน
ทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียน
ทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ในการวางแผน ดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
๓. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
๔. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด การเรียนรู้
๕. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๖. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
จุดหมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข
มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
๑. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
๓. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
๔. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร
การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง
มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->๑. <!--[endif]-->ภาษาไทย
<!--[if !supportLists]-->๒. <!--[endif]-->คณิตศาสตร์
<!--[if !supportLists]-->๓. <!--[endif]-->วิทยาศาสตร์
<!--[if !supportLists]-->๔. <!--[endif]-->สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
<!--[if !supportLists]-->๕. <!--[endif]-->สุขศึกษาและพลศึกษา
<!--[if !supportLists]-->๖. <!--[endif]-->ศิลปะ
<!--[if !supportLists]-->๗. <!--[endif]-->การงานอาชีพและเทคโนโลยี
<!--[if !supportLists]-->๘. <!--[endif]-->ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึง
การทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด
การทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
๑. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓)
๒. ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖)
หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้
ต ๒.๒ ม.๔-๖/ ๓
๒.๓ สาระที่ ๒ มาตรฐานข้อที่ ๒
ต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
3. หลักภาษาไทย
หลักภาษาไทย
อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร
เสียงในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ
1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ
2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์
สระ
สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง
พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ
1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
1. ไม้เอก
2. ไม้โท
3. ไม้ตรี
4. ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
คำเป็นคำตาย
คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กื กู
คำตาย คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา เช่น กะ กิ กุ
คำสนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำหรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท เช่น
ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม
มหา + อิสี เป็น มเหสี
คำสมาส คือ การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, ความหมายคงเดิมก็มี เช่น
ราช + โอรส เป็น ราชโอรส
สุธา + รส เป็น สุธารส
คช + สาร เป็น คชสาร
คำเป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา
อักษรควบ คือพยัญชนะ 2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา
อักษรควบแท้ คือคำที่ควบกับ ร ล ว เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป
ควาย ขวาง วิ่ง วน ขวักไขว่ กวัดแกว่ง ขวาน ไล่ ล้ม คว่ำ ขวาง ควาย.
อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น
เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออก
เสียงร่วมกันเช่น หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือบางคำออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง แต่พยัญชนะ 2 ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะ ดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น
กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก
คำมูล คือ คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด
คำประสม คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น
แม่ + น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล
หาง + เสือ = หางเสือ แปลว่า ที่บังคับเรือ
ลูก + น้ำ = ลูกน้ำ
พยางค์ คือ ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ เช่น ตา ดี ไป นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด เช่น คน กิน ข้าว หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์ เช่น โลห์ เล่ห์
3. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า ประสม 5 ส่วน
วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น
1. ประโยค 2 ส่วน ประธาน + กริยา
นก บิน
2. ประโยค 3 ส่วน ประธาน + กริยา + กรรม
ปลา กิน มด
การสะกดคำ การเขียนคำ
เป็นข้อสอบที่ออกสอบทุกครั้งและออกสอบหลายข้อ ผู้สอบส่วนมากถ้าไม่เก่งภาษาไทยจริง ๆ มักเขียนผิดเสมอ ๆ เพราะไม่มีแนวหรือหลักในการจำ ยิ่งถ้าเจอคำหลายคำในตัวเลือกเดียวยิ่งลำบาก พาลจะกาข้อสอบมั่วให้เสร็จ เป็นอันตรายสำหรับการสอบแข่งขัน ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยจำและทำแบบทดสอบในสาระการสะกดและเขียนคำได้ (ควรท่องให้จำอย่างยิ่ง รับรองหน้านี้ มีข้อสอบไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ
ข้อความต่อไปนี้ คัดมาจาก หนังสือ หลักภาษาไทย ของ อาจารย์ กำชัย ทองหล่อ ด้วยความเคารพยิ่ง
ก่อนอ่าน ก่อนจำ ก่อนสอบ หากจะระลึกถึงพระคุณของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ด้วยก็จะช่วยให้เรามั่นใจในการทำข้อสอบมากยิ่งขึ้น
พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ ได้แก่ (นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์ วรลักษณ์ หรดี บริวาร)
พยางค์ที่ออกเสียง อำ ได้แก่ (อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์)
พยางค์ที่ออกเสียง ใอ (ไม้ม้วน) นอกเหนือจาก 20 คำนี้ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย)
1. ใช้สระไอ ไม้ม้วน มี 20 คำ คือ
(ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ ใหล)
คำที่มี ญ สะกด มี 46 คำ คือ
ลำเค็ญครวญเข็ญใจ ควาญช้างไปหานงคราญ
เชิญขวัญเพ็ญสำราญ ผลาญรำคาญลาญระทม
เผอิญเผชิญหาญ เหรียญรำบาญอัญขยม
รบราญสราญชม ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ
ประจญประจัญบาน ผจญการกิจบังเอิญ
สำคัญหมั่นเจริญ ถือกุญแจรัญจวนใจ
รามัญมอญจำเริญ เขาสรรเสริญไม่จัญไร
ชำนาญชาญเกรียงไกร เร่งผจัญตามบัญชา
จรูญบำเพ็ญยิ่ง บำนาญสิ่งสะคราญตา
ประมวญชวนกันมา สูบกัญชาไม่ดีเลย.
การเขียน บัน และ บรร
คำไทยที่ใช้ บัน นำหน้า คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนบทนี้นี้ให้ใช้ บรร
บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี
รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง
บันโดย บันโหยให้ บันเหินไปจากรวงรัง
บันทึงถึงความหลัง บันเดินนั่งนอนบันดล
บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน
คำ บัน นั้น ฉงน ระวังปน กับ ร - หัน.
ตัว ทร ที่ ออกเสียง ซ มีใช้อยู่ 17 คำ
ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
มัทรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสฉะเชิงเทรา
ตัว ทร เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง ซ
คำไทยที่ใช้ จ สะกด
ตำรวจตรวจคนเท็จ เสร็จสำเร็จระเห็จไป
สมเด็จเสด็จไหน ตรวจตราไวดุจนายงาน
อำนาจอาจบำเหน็จ จรวดระเห็จเผด็จการ
ฉกาจรังเกียจวาน คนเกียจคร้านไม่สู้ดี
แก้วเก็จทำเก่งกาจ ประดุจชาติทรพี
โสรจสรงลงวารี กำเหน็จนี้ใช้ตัว จ.
คำที่ใช้ ช สะกด มีอยู่คำเดียว คือ กริช
คำที่ใช้ ร สะกด
กำธร จรรโจษ จรรโลง สรรเสริญ อรชร พรรลาย พรรเอิญ ควร ประยูร ระเมียร ละคร พรรดึก
คำไทยที่ใช้ ตัว ล สะกด เช่น
ตำบลยุบลสรวล ยลสำรวลนวลกำนัล
บันดาลในบันดล ค่ากำนลของกำนัล
ระบิลกบิลแบบ กลทางแคบเข้าเคียมคัล
ดลใจให้รางวัล ปีขาลบันเดินเมิลมอง.
คำไทยที่ใช้ ส สะกด เช่น จรัส จรส จำรัส ดำรัส ตรัส ตรัสรู้
คำไทยที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์ (คำพวกนี้มักเขียนผิดบ่อย ๆ )
จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง ประโมง พะทำมะรง พะอง สะอาง สำอาง
การอ่านออกเสียง
ตัวอย่างการอ่านออกเสียง
กรณี = กะ - ระ - นี, กอ - ระ- นี
ปรปักษ์ = ปะ - ระ - ปัก, ปอ - ระ ปัก
กรกฎ = กอ - ระ - กด
ธรณี = ทอ - ระ - นี
มรณา = มอ - ระ - นา
คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค และมีพยัญชนะที่ตัวตามซึ่งเรียกว่าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคด้วย หรือ เป็น ศ ษ ส มักไม่ต้องออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เช่น
อัปสร = อับ - สอน
สัปดาห์ = สับ - ดา
ถ้าตัวสะกด เป็น ย ร ล ว ศ ษ ส ให้ออกเสียง อะ ตาม หลัง เป็นเสียง อะ ไม่เต็ม เสียง เช่น
ไอยรา = ไอ - ยะ - รา
มารยาท = มา - ร - ยาด
กัลปาวสาน = กัน - ละ ปา - วะ - สาน
ศุลกากร = สุน - ละ - กา - กอน
บุษบา = บุด - สะ - บา
ศิษยานุศิษย์ = สิด - สะ - ยา - นุ - สิด
พิสดาร = พิด - สะ - ดาน
ทฤษฎ๊ = ทริด - สะ - ดี
แพศยา = แพด - สะ - หยา
ขนิษฐา = ขะ - นิด - ถา
สันนิษฐาน = สัน - นิด - ถาน
อธิษฐาน = อะ - ทิด - ถาน
คำที่มาจากภาษาบาลีบางคำ ก็ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เป็นเสียงไม่เต็มมาตรา เช่น
ลัคนา = ลัก - ขะ - นา
อัคนี = อัก - คะ - นี
อาตมา = อาด - ตะ - มา
อาชยา = อาด - ชะ - ยา
ปรัชญา = ปรัด - ชะ - ยา
คำสมาส
คำสมาส คือคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายเนื่องกับคำเดิม เช่น
ราชการ (ราช + การ) = ราด - ชะ - กาน
จุลสาร (จุล + สาร) = จุล - ละ - สาน
สารคดี (สาร - คดี) = สา - ระ - คะ - ดี
ชาติภูมิ (ชาติ + ภูมิ) = ชาด - ติ พูม
มีคำสมาส บางคำไม่นิยม อ่านออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น
ธนบุรี = ทน - บุ - รี
สมุทรปราการ = สมุด - ปรา - กาน
ธาตุวิเคราะห์ = ทาด - วิ - เคราะ
คำสมาส ที่ออกเสียงได้ ทั้ง 2 อย่าง เช่น
เกตุมาลา = เกด - มา - ลา, เกด - ตุ - มา - ลา
ราชบุรี = ราด - บุ - รี , ราด - ชะ - บุ - รี
ประถมศึกษา = ประ - สึก - สา , ประ - มะ - สึก - สา
เพชรบุรี = เพ็ด - บุ - รี , เพ็ด - ชะ - บุ - รี
บางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมออกเสียงอย่างคำสมาส เช่น
เมรุมาศ = เม - รุ - มาด
มูลค่า = มูล - ละ - ค่า
คุณค่า = คุน - นะ - ค่า
ทุนทรัพย์ = ทุน - นะ - ซับ
พลเรือน = พน - ละ - เรือน
อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร
คำ - วิธีเขียน วิธีอ่าน 1 วิธีอ่าน 2 ความหมาย
เกษตรศาสตร์ กะ - เสด - ตระ - สาด - วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม
เกษียน กะ - เสียน - ข้อความที่เขียนแทรก
เกษียณ กะ - เสียน - เกษียณอายุราชการ
เกียรติประวัติ เกียด - ติ - ประ - หวัด เกียด - ประวัติ -
ขยุกขยิก ขะ - หยุก - ขะ - หยิก - ไม่อยู่นิ่ง ๆ
คมนาคม คะ - มะ - นา - คม คม - มะ - นา - คม
คฤหัสถ์ คะ - รึ - หัด - ผู้ครองเรือน
คฤหาสน์ คะ- รึ - หาด - เรือนอันสง่าผ่าเผย
อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร
เสียงในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ
1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ
2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์
สระ
สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง
พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ
1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
1. ไม้เอก
2. ไม้โท
3. ไม้ตรี
4. ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
คำเป็นคำตาย
คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กื กู
คำตาย คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา เช่น กะ กิ กุ
คำสนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำหรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท เช่น
ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม
มหา + อิสี เป็น มเหสี
คำสมาส คือ การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, ความหมายคงเดิมก็มี เช่น
ราช + โอรส เป็น ราชโอรส
สุธา + รส เป็น สุธารส
คช + สาร เป็น คชสาร
คำเป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา
อักษรควบ คือพยัญชนะ 2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา
อักษรควบแท้ คือคำที่ควบกับ ร ล ว เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป
ควาย ขวาง วิ่ง วน ขวักไขว่ กวัดแกว่ง ขวาน ไล่ ล้ม คว่ำ ขวาง ควาย.
อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น
เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออก
เสียงร่วมกันเช่น หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือบางคำออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง แต่พยัญชนะ 2 ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะ ดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น
กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก
คำมูล คือ คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด
คำประสม คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น
แม่ + น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล
หาง + เสือ = หางเสือ แปลว่า ที่บังคับเรือ
ลูก + น้ำ = ลูกน้ำ
พยางค์ คือ ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ เช่น ตา ดี ไป นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด เช่น คน กิน ข้าว หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์ เช่น โลห์ เล่ห์
3. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า ประสม 5 ส่วน
วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น
1. ประโยค 2 ส่วน ประธาน + กริยา
นก บิน
2. ประโยค 3 ส่วน ประธาน + กริยา + กรรม
ปลา กิน มด
การสะกดคำ การเขียนคำ
เป็นข้อสอบที่ออกสอบทุกครั้งและออกสอบหลายข้อ ผู้สอบส่วนมากถ้าไม่เก่งภาษาไทยจริง ๆ มักเขียนผิดเสมอ ๆ เพราะไม่มีแนวหรือหลักในการจำ ยิ่งถ้าเจอคำหลายคำในตัวเลือกเดียวยิ่งลำบาก พาลจะกาข้อสอบมั่วให้เสร็จ เป็นอันตรายสำหรับการสอบแข่งขัน ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยจำและทำแบบทดสอบในสาระการสะกดและเขียนคำได้ (ควรท่องให้จำอย่างยิ่ง รับรองหน้านี้ มีข้อสอบไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ
ข้อความต่อไปนี้ คัดมาจาก หนังสือ หลักภาษาไทย ของ อาจารย์ กำชัย ทองหล่อ ด้วยความเคารพยิ่ง
ก่อนอ่าน ก่อนจำ ก่อนสอบ หากจะระลึกถึงพระคุณของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ด้วยก็จะช่วยให้เรามั่นใจในการทำข้อสอบมากยิ่งขึ้น
พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ ได้แก่ (นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์ วรลักษณ์ หรดี บริวาร)
พยางค์ที่ออกเสียง อำ ได้แก่ (อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์)
พยางค์ที่ออกเสียง ใอ (ไม้ม้วน) นอกเหนือจาก 20 คำนี้ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย)
1. ใช้สระไอ ไม้ม้วน มี 20 คำ คือ
(ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ ใหล)
คำที่มี ญ สะกด มี 46 คำ คือ
ลำเค็ญครวญเข็ญใจ ควาญช้างไปหานงคราญ
เชิญขวัญเพ็ญสำราญ ผลาญรำคาญลาญระทม
เผอิญเผชิญหาญ เหรียญรำบาญอัญขยม
รบราญสราญชม ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ
ประจญประจัญบาน ผจญการกิจบังเอิญ
สำคัญหมั่นเจริญ ถือกุญแจรัญจวนใจ
รามัญมอญจำเริญ เขาสรรเสริญไม่จัญไร
ชำนาญชาญเกรียงไกร เร่งผจัญตามบัญชา
จรูญบำเพ็ญยิ่ง บำนาญสิ่งสะคราญตา
ประมวญชวนกันมา สูบกัญชาไม่ดีเลย.
การเขียน บัน และ บรร
คำไทยที่ใช้ บัน นำหน้า คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนบทนี้นี้ให้ใช้ บรร
บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี
รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง
บันโดย บันโหยให้ บันเหินไปจากรวงรัง
บันทึงถึงความหลัง บันเดินนั่งนอนบันดล
บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน
คำ บัน นั้น ฉงน ระวังปน กับ ร - หัน.
ตัว ทร ที่ ออกเสียง ซ มีใช้อยู่ 17 คำ
ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
มัทรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสฉะเชิงเทรา
ตัว ทร เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง ซ
คำไทยที่ใช้ จ สะกด
ตำรวจตรวจคนเท็จ เสร็จสำเร็จระเห็จไป
สมเด็จเสด็จไหน ตรวจตราไวดุจนายงาน
อำนาจอาจบำเหน็จ จรวดระเห็จเผด็จการ
ฉกาจรังเกียจวาน คนเกียจคร้านไม่สู้ดี
แก้วเก็จทำเก่งกาจ ประดุจชาติทรพี
โสรจสรงลงวารี กำเหน็จนี้ใช้ตัว จ.
คำที่ใช้ ช สะกด มีอยู่คำเดียว คือ กริช
คำที่ใช้ ร สะกด
กำธร จรรโจษ จรรโลง สรรเสริญ อรชร พรรลาย พรรเอิญ ควร ประยูร ระเมียร ละคร พรรดึก
คำไทยที่ใช้ ตัว ล สะกด เช่น
ตำบลยุบลสรวล ยลสำรวลนวลกำนัล
บันดาลในบันดล ค่ากำนลของกำนัล
ระบิลกบิลแบบ กลทางแคบเข้าเคียมคัล
ดลใจให้รางวัล ปีขาลบันเดินเมิลมอง.
คำไทยที่ใช้ ส สะกด เช่น จรัส จรส จำรัส ดำรัส ตรัส ตรัสรู้
คำไทยที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์ (คำพวกนี้มักเขียนผิดบ่อย ๆ )
จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง ประโมง พะทำมะรง พะอง สะอาง สำอาง
การอ่านออกเสียง
ตัวอย่างการอ่านออกเสียง
กรณี = กะ - ระ - นี, กอ - ระ- นี
ปรปักษ์ = ปะ - ระ - ปัก, ปอ - ระ ปัก
กรกฎ = กอ - ระ - กด
ธรณี = ทอ - ระ - นี
มรณา = มอ - ระ - นา
คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค และมีพยัญชนะที่ตัวตามซึ่งเรียกว่าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคด้วย หรือ เป็น ศ ษ ส มักไม่ต้องออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เช่น
อัปสร = อับ - สอน
สัปดาห์ = สับ - ดา
ถ้าตัวสะกด เป็น ย ร ล ว ศ ษ ส ให้ออกเสียง อะ ตาม หลัง เป็นเสียง อะ ไม่เต็ม เสียง เช่น
ไอยรา = ไอ - ยะ - รา
มารยาท = มา - ร - ยาด
กัลปาวสาน = กัน - ละ ปา - วะ - สาน
ศุลกากร = สุน - ละ - กา - กอน
บุษบา = บุด - สะ - บา
ศิษยานุศิษย์ = สิด - สะ - ยา - นุ - สิด
พิสดาร = พิด - สะ - ดาน
ทฤษฎ๊ = ทริด - สะ - ดี
แพศยา = แพด - สะ - หยา
ขนิษฐา = ขะ - นิด - ถา
สันนิษฐาน = สัน - นิด - ถาน
อธิษฐาน = อะ - ทิด - ถาน
คำที่มาจากภาษาบาลีบางคำ ก็ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เป็นเสียงไม่เต็มมาตรา เช่น
ลัคนา = ลัก - ขะ - นา
อัคนี = อัก - คะ - นี
อาตมา = อาด - ตะ - มา
อาชยา = อาด - ชะ - ยา
ปรัชญา = ปรัด - ชะ - ยา
คำสมาส
คำสมาส คือคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายเนื่องกับคำเดิม เช่น
ราชการ (ราช + การ) = ราด - ชะ - กาน
จุลสาร (จุล + สาร) = จุล - ละ - สาน
สารคดี (สาร - คดี) = สา - ระ - คะ - ดี
ชาติภูมิ (ชาติ + ภูมิ) = ชาด - ติ พูม
มีคำสมาส บางคำไม่นิยม อ่านออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น
ธนบุรี = ทน - บุ - รี
สมุทรปราการ = สมุด - ปรา - กาน
ธาตุวิเคราะห์ = ทาด - วิ - เคราะ
คำสมาส ที่ออกเสียงได้ ทั้ง 2 อย่าง เช่น
เกตุมาลา = เกด - มา - ลา, เกด - ตุ - มา - ลา
ราชบุรี = ราด - บุ - รี , ราด - ชะ - บุ - รี
ประถมศึกษา = ประ - สึก - สา , ประ - มะ - สึก - สา
เพชรบุรี = เพ็ด - บุ - รี , เพ็ด - ชะ - บุ - รี
บางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมออกเสียงอย่างคำสมาส เช่น
เมรุมาศ = เม - รุ - มาด
มูลค่า = มูล - ละ - ค่า
คุณค่า = คุน - นะ - ค่า
ทุนทรัพย์ = ทุน - นะ - ซับ
พลเรือน = พน - ละ - เรือน
อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร
คำ - วิธีเขียน วิธีอ่าน 1 วิธีอ่าน 2 ความหมาย
เกษตรศาสตร์ กะ - เสด - ตระ - สาด - วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม
เกษียน กะ - เสียน - ข้อความที่เขียนแทรก
เกษียณ กะ - เสียน - เกษียณอายุราชการ
เกียรติประวัติ เกียด - ติ - ประ - หวัด เกียด - ประวัติ -
ขยุกขยิก ขะ - หยุก - ขะ - หยิก - ไม่อยู่นิ่ง ๆ
คมนาคม คะ - มะ - นา - คม คม - มะ - นา - คม
คฤหัสถ์ คะ - รึ - หัด - ผู้ครองเรือน
คฤหาสน์ คะ- รึ - หาด - เรือนอันสง่าผ่าเผย
4.โครงงานเพื่อการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้แบบโครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงาน คือ การจัดให้นักศึกษารวมกลุ่มกันทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาหาความรู้ หรือทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งตามความสนใจของนักศึกษา การเรียนรู้แบบโครงงานนี้ จึงมุ่งตอบสนองความสนใจ ความกระตือรือร้น และความใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนเอง ในการแสวงหาข้อมูล ความรู้ต่างๆ เพื่อทำโครงงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของโครงงาน
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้(Project Centered Learning) ซึ่งหมายถึง การกระทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม ด้วยวิธีการปฏิบัติจริง เพื่อการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา อันนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แสวงหาข้อมูลและแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
การเรียนรู้แบบโครงงาน อาจมีชื่อเรียกอื่นที่มีความหมายเดียวกัน ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน การเรียนรู้แบบโครงการ การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ในเรื่องความหมาย ได้มีผู้กล่าวถึงไว้หลายคน เช่น
จากิซ และโรบิน (Jaques, 1984; Robbins, 1997) ได้ให้ความหมายของวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน (Group Project) ว่าหมายถึง การรวมกลุ่มกันของบุคคลมากกว่า 2 คนขึ้นไปมี ปฏิสัมพันธ์กัน ร่วมกันกระทำกิจกรรมอันนำไปสู่จุดมุ่งหมายบางประการ นอกจากนั้นแล้วโครงงานเป็นการจัดสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันและสนับสนุนกันในการเรียนรู้ (Fascilitate Learning)
สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) กล่าวถึงความหมายของ การเรียนรู้โดยใช้โครงงานว่าหมายถึง การจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด •
สรุปได้ว่า การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของแต่ละคนให้ได้รับการพัฒนาได้เต็มขีดความสามารถที่มีอยู่อย่างแท้จริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนวิธีการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด
การเรียนรู้แบบโครงงาน
โครงงาน ( project ) จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างผู้เรียน กับห้องเรียน และโลกภายนอก ซึ่งผู้เรียนสามารถจะนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ได้ในชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่า ผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่จะกระทำ เพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหา และการค้นพบด้วยตนเอง
ผู้เรียนต้องสร้างและกำหนดความรู้ จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่กับความคิดและแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่
ความสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงานw การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านโครงงาน ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริง ซึ่งจะถูกเชื่อมโยงเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน ในลักษณะของความสัมพันธ์ และการเชื่อมโยง อันจะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นได้อย่างหลากหลาย สามารถบูรณาการความรู้มาช่วยกันทำโครงงาน เรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการหาข้อมูล ความรู้ต่างๆด้วยตนเอง ฝึกทักษะการสื่อสาร รู้จักการ การคิด แก้ไขปัญหา
ในส่วนของผู้เรียน การเรียนรู้จากโครงงาน ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่ม เพราะทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาคำตอบ หาความหมาย ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหา ร่วมคิด ร่วมทำงาน ส่งผลให้เกิดกระบวนการค้นพบกระบวนการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ด้วยตนเองสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนพื้นฐานความรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เป็นลักษณะของการเรียนรู้ร่วมกัน ( Collaboration learning)
ความรู้และสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียน จะถูกกระตุ้นให้ได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ขณะที่ปฏิบัติกิจกรรม เช่นเดียวกับ ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับชีวิต เช่น ทักษะการทำงาน ทักษะการอยู่ร่วมกัน ทักษะการจัดการ ฯลฯ ก็จะถูกนำเอามาใช้อย่างเต็มตามศักยภาพ ในขณะที่ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงานยังช่วยส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทั้งหลายก็จะถูกปลูกฝัง และสั่งสมในตัวผู้เรียนในขณะที่ทุกคนร่วมกันทำงาน รวมทั้งเป็นการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ฝึกหัดการรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเนื่องจากว่าแนวคิดหลักของการเรียนรู้แบบโครงงาน จะใช้หลักการเรียนรู้ร่วมกัน (Team learning) อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มโอกาสในการเจริญก้าวหน้าของบุคคลในการเรียนรู้และพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง
ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองได้ หากแต่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดจากการเรียนรู้ เพื่อจะทำให้ทักษะดังกล่าวเกิดขึ้นในตัวของบุคคล การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความสามารถและทักษะดังกล่าว สามารถทำให้เกิดได้โดยใช้ นำหลักการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนรวมกลุ่มกัน มีโอกาสร่วมกันในการเรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยใช้วิธี “group assignments in their courses” ซึ่งมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทักษะดังกล่าวจากประสบการณ์ในการการทำโครงงานร่วนกัน
ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานจึงต้องเน้น และให้ความสำคัญที่ตัวผู้เรียน โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถของตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ มีความสมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ปัญญา และสังคม เป็นผู้รู้จักคิด วิเคราะห์ รักการเรียนรู้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต รวมทั้งทักษะทางอาชีพ สามารถพึ่งตนเอง และร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
การเรียนรู้แบบโคงงานต้องมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์
ได้แก่ ความสามารถในการมีสติรู้ตัวและ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิต เช่นเดียวกับความสามารถทางปัญญา ความสามารถหรือความฉลาดทางอารมณ์ที่จะต้องปลูกฝังให้ผู้เรียน ได้แก่ การรู้จักตนเอง การเข้าใจตนเอง ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง ความสามารถในการแก้ไขข้อขัดแย้งทางอารมณ์
ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
แคทซ์และชาร์ด (Katz and Chard , 1994) กล่าวถึงการสอนแบบโครงการว่า วิธีการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กทั้งชีวิตและจิตใจ (Mind) ซึ่งชีวิตจิตใจในที่นี้หมายรวมถึง ความรู้ ทักษะ อารมณ์ จริยธรรม และความรู้สึกถึงสุนทรียศาสตร์ แคทซ์และชาร์ด ได้เสนอว่า ในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยโดยใช้การสอนแบบโครงการควรมีเป้าหมายหลัก 5 ประการ คือ
ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงาน คือ การจัดให้นักศึกษารวมกลุ่มกันทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาหาความรู้ หรือทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งตามความสนใจของนักศึกษา การเรียนรู้แบบโครงงานนี้ จึงมุ่งตอบสนองความสนใจ ความกระตือรือร้น และความใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนเอง ในการแสวงหาข้อมูล ความรู้ต่างๆ เพื่อทำโครงงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของโครงงาน
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้(Project Centered Learning) ซึ่งหมายถึง การกระทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม ด้วยวิธีการปฏิบัติจริง เพื่อการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา อันนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แสวงหาข้อมูลและแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
การเรียนรู้แบบโครงงาน อาจมีชื่อเรียกอื่นที่มีความหมายเดียวกัน ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน การเรียนรู้แบบโครงการ การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ในเรื่องความหมาย ได้มีผู้กล่าวถึงไว้หลายคน เช่น
จากิซ และโรบิน (Jaques, 1984; Robbins, 1997) ได้ให้ความหมายของวิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน (Group Project) ว่าหมายถึง การรวมกลุ่มกันของบุคคลมากกว่า 2 คนขึ้นไปมี ปฏิสัมพันธ์กัน ร่วมกันกระทำกิจกรรมอันนำไปสู่จุดมุ่งหมายบางประการ นอกจากนั้นแล้วโครงงานเป็นการจัดสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันและสนับสนุนกันในการเรียนรู้ (Fascilitate Learning)
สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) กล่าวถึงความหมายของ การเรียนรู้โดยใช้โครงงานว่าหมายถึง การจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด •
สรุปได้ว่า การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของแต่ละคนให้ได้รับการพัฒนาได้เต็มขีดความสามารถที่มีอยู่อย่างแท้จริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนวิธีการเรียนรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด
การเรียนรู้แบบโครงงาน
โครงงาน ( project ) จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างผู้เรียน กับห้องเรียน และโลกภายนอก ซึ่งผู้เรียนสามารถจะนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ได้ในชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่า ผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่จะกระทำ เพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหา และการค้นพบด้วยตนเอง
ผู้เรียนต้องสร้างและกำหนดความรู้ จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่กับความคิดและแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่
ความสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงงานw การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านโครงงาน ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริง ซึ่งจะถูกเชื่อมโยงเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน ในลักษณะของความสัมพันธ์ และการเชื่อมโยง อันจะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นได้อย่างหลากหลาย สามารถบูรณาการความรู้มาช่วยกันทำโครงงาน เรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการหาข้อมูล ความรู้ต่างๆด้วยตนเอง ฝึกทักษะการสื่อสาร รู้จักการ การคิด แก้ไขปัญหา
ในส่วนของผู้เรียน การเรียนรู้จากโครงงาน ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันภายในกลุ่ม เพราะทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาคำตอบ หาความหมาย ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหา ร่วมคิด ร่วมทำงาน ส่งผลให้เกิดกระบวนการค้นพบกระบวนการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ด้วยตนเองสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนพื้นฐานความรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เป็นลักษณะของการเรียนรู้ร่วมกัน ( Collaboration learning)
ความรู้และสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียน จะถูกกระตุ้นให้ได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ขณะที่ปฏิบัติกิจกรรม เช่นเดียวกับ ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับชีวิต เช่น ทักษะการทำงาน ทักษะการอยู่ร่วมกัน ทักษะการจัดการ ฯลฯ ก็จะถูกนำเอามาใช้อย่างเต็มตามศักยภาพ ในขณะที่ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงงาน
การเรียนรู้แบบโครงงานยังช่วยส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทั้งหลายก็จะถูกปลูกฝัง และสั่งสมในตัวผู้เรียนในขณะที่ทุกคนร่วมกันทำงาน รวมทั้งเป็นการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ฝึกหัดการรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเนื่องจากว่าแนวคิดหลักของการเรียนรู้แบบโครงงาน จะใช้หลักการเรียนรู้ร่วมกัน (Team learning) อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มโอกาสในการเจริญก้าวหน้าของบุคคลในการเรียนรู้และพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง
ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองได้ หากแต่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดจากการเรียนรู้ เพื่อจะทำให้ทักษะดังกล่าวเกิดขึ้นในตัวของบุคคล การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความสามารถและทักษะดังกล่าว สามารถทำให้เกิดได้โดยใช้ นำหลักการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนรวมกลุ่มกัน มีโอกาสร่วมกันในการเรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยใช้วิธี “group assignments in their courses” ซึ่งมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทักษะดังกล่าวจากประสบการณ์ในการการทำโครงงานร่วนกัน
ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานจึงต้องเน้น และให้ความสำคัญที่ตัวผู้เรียน โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถของตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ มีความสมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ปัญญา และสังคม เป็นผู้รู้จักคิด วิเคราะห์ รักการเรียนรู้ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต รวมทั้งทักษะทางอาชีพ สามารถพึ่งตนเอง และร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
การเรียนรู้แบบโคงงานต้องมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์
ได้แก่ ความสามารถในการมีสติรู้ตัวและ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิต เช่นเดียวกับความสามารถทางปัญญา ความสามารถหรือความฉลาดทางอารมณ์ที่จะต้องปลูกฝังให้ผู้เรียน ได้แก่ การรู้จักตนเอง การเข้าใจตนเอง ความสามารถในการควบคุมตนเอง ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง ความสามารถในการแก้ไขข้อขัดแย้งทางอารมณ์
ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
แคทซ์และชาร์ด (Katz and Chard , 1994) กล่าวถึงการสอนแบบโครงการว่า วิธีการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กทั้งชีวิตและจิตใจ (Mind) ซึ่งชีวิตจิตใจในที่นี้หมายรวมถึง ความรู้ ทักษะ อารมณ์ จริยธรรม และความรู้สึกถึงสุนทรียศาสตร์ แคทซ์และชาร์ด ได้เสนอว่า ในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยโดยใช้การสอนแบบโครงการควรมีเป้าหมายหลัก 5 ประการ คือ
ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
1.เป้าหมายทางสติปัญญาและเป้าหมายทางจิตใจของเด็ก (Intellectual Goals and the Life of the Mind) คือการจัดการเรียนการสอนแบบเตรียมความพร้อม มุ่งให้เด็กมี ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลาย และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กควรจะได้เข้าใจประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเป้าหมายหลักของการเรียนระดับนี้จึงเป็นการมุ่งให้เด็กพัฒนาความรู้ความเข้าใจโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา และปลูกฝังคุณลักษณะการอยากรู้อยากเรียนให้กับผู้เรียน
2. ความสมดุลของกิจกรรม (Balance of Activities) การสอนแบบโครงการจะทำให้ผู้เรียน ได้ปฏิบัติกิจกรรมทั้งที่เป็นกิจกรรมทางวิชาการ ใช้กิจกรรมเป็นสื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม ค้นหาความรู้ เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่อยู่รอบตัว
3. โรงเรียนคือส่วนหนึ่งของชีวิต (School as Life) การเรียนการสอนในโรงเรียนต้องเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็ก ไม่ใช่แยกออกจากชีวิตประจำวันโดยทั่วไป กิจกรรมในโรงเรียนจึงควรเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตปกติ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและผู้คนรอบๆ ตัวเด็ก
4. ห้องเรียนเป็นชุมชนหนึ่งของเด็ก ๆ (Community Ethos in the Class) เด็ก ๆ ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัว การสอนแบบโครงการเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกถึงคุณลักษณะ ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อของเขา ในการสอนแบบนี้จึงเกิดการแลกเปลี่ยนการมี ปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง เด็กเรียนรู้ความแตกต่างของตนกับเพื่อน ๆ
5.การเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ท้าทายครู (Teaching as a Challenge) ในการสอนแบบโครงการ ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก แต่เป็นผู้คอยกระตุ้น
ชี้แนะ และให้ความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน
โครงงานบางโครงงานครูเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับเด็ก ครูร่วมกันกับเด็กคิดหาวิธีแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติไปด้วยกัน ถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน
การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้สามารถฝึกทักษะสำคัญ ๆ ดังนี้
1. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal skill)
2. การแก้ปัญหาและความขัดแย้ง (Conflict resolution)
3. ความสามารถในการถกเถียง เจรจา เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ (Consensus on decision)
4. เทคนิคการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิภาพ (Effective interpersonal Communication Techniques)
5. การจัดการและการบริหารเวลา
6. เตรียมผู้เรียนเพื่อจะออกไปทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.1 ทักษะในแง่ความรู้เกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมจิตใจและควบคุม ตนเอง (discipline knowledge)
6.2 ทักษะเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม (group-process skill)
7. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีความรู้มากขึ้น มีมุมมองหลากหลาย (multi perspective) อันจะนำไปสู่ความสามารถทางสติปัญญา การรับรู้ ความเข้าใจ ความจดจำ และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
8. เพิ่มความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น อันนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะการสื่อสาร (critical thinking and communication skill) (Freeman, 1995)
9. ช่วยสนับสนุนการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมจากการเรียนรู้ จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential learning) (Kolb, 1984)
10. การเรียนแบบโครงงานช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative learning) ในกลุ่มของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในการเรียน โดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม (group dynamic)
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญต่อผู้เรียน
ในการเลือกเรียนสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทั้งเนื้อหา วิธีการ โดยมีครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จในการเรียน ทั้งในแง่ของความรู้ด้านวิชาการและความรู้ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงานในอนาคต เป็นผู้มีความสมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ปัญญา อารมณ์ สังคม
ประเภทของโครงงานโครงงานที่ผู้เรียนจะปฏิบัติในแต่ละระดับ อาจจัดแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ตามลักษณะของการปฏิบัติได้ดังนี้ (สุชาติ วงศ์สุวรรณ, 2542)
1.โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
2.โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง
3.โครงงานที่เป็นการศึกษา ความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือ แนวคิดใหม่
4.โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น
โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูลโครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ เพื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือความสัมพันธ์ของเรื่องดังกล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การปฏิบัติตามโครงงานนี้ ผู้เรียนจะต้องไปศึกษา รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถาม สัมภาษณ์ สำรวจ โดยใช้เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก ฯลฯ ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างโครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล เช่น การสำรวจประชากร พืช สัตว์ การสำรวจความต้องการเกี่ยวกับอาชีพของ
โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลองโครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยการออกแบบโครงงานในรูปของการทดลองเพื่อศึกษาว่า ตัวแปรหนึ่งจะมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาอย่างไรบ้าง ด้วยการควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ การทำโครงงานประเภทนี้ จะมีขั้นตอนการดำเนินงานประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ หรือสมมุติฐาน การออกแบบทดลอง การรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลอง การแปรผล และสรุปผลการทดลอง
ตัวอย่างโครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง เช่น วิธีการประหยัดน้ำประปาภายในบ้าน
โครงงานที่เป็นการศึกษาความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่
โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หรือขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ซึ่งความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดที่เสนอต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการหรือวิธีการที่น่าเชื่อถือตามกติกา/ข้อตกลงที่กำหนดขึ้นมาเอง หรืออาจใช้กติกาหรือข้อตกลงเดิมมาอธิบายข้อความรู้ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดใหม่ ก็ได้
โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์คิดค้น
โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนำเอาความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดมาประยุกต์ใช้ โดยการประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียน การทำงาน หรือการใช้สอยอื่น ๆ
การประดิษฐ์คิดค้นตามโครงงานนี้ อาจเป็นการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่มีใครทำ หรืออาจเป็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงการการจัดการเรียนแบบโครงการแบ่งขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในโครงการออกได้ 5 ระยะ ที่สำคัญ ดังนี้
–1. ระยะเตรียมการวางแผนเข้าสู่โครงการ (Preliminary Planning)
–2. ระยะเริ่มต้นโครงการ (Getting Project Start)
–3. ระยะดำเนินโครงการ (Project in Progress)
–4. ระยะสรุปและอภิปรายผลโครงการ (Consolidating Project)
–5.ระยะการนำเสนอโครงงาน ( Present Project )
การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องทำโครงงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้เป็นการคิดหาหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน โดย ผู้เรียนต้องตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่า – - จะศึกษาอะไร – - ทำไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าว – สิ่งที่จะนำมากำหนดเป็นหัวข้อเรื่องโครงงาน จะได้มาจาก ปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ ของผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้เรียนได้อ่านจากหนังสือ เอกสาร บทความ ยอมฟังความคิดเห็น ฟังการบรรยาย การสนทนา หรือจากการที่ได้ไปดูงาน ทัศนศึกษา
การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องทำโครงงาน– หัวเรื่องของโครงงาน ต้องเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง และชัดเจนว่า โครงงานนี้ทำอะไร และควรเน้นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว หรือมีความคุ้นเคยกับเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่นักศึกษามีความสนใจ อยากจะศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะต้องใช้เวลาในการศึกษา พอสมควรที่จะทำให้ได้มาซึ่งคำตอบ
การศึกษาเอกสารและข้อมูล– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้จะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทำให้เห็นถึงขอบข่ายของภาระงานที่จะดำเนินการของโครงงานที่จะทำผลที่ได้จากการดำเนินงานขั้นตอนนี้ จะช่วยทำให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่ายหรือเค้าโครงของเรื่องที่จะศึกษาชัดเจนว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำต้องการให้เกิดอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร ทำกับใคร จะเสนอผลอย่างไร ฯลฯ และเป็นการเตรียมความรู้ ความเข้าใจในการทำโครงงานให้มากยิ่งขึ้น
การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
–การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการสร้างแผนที่ความคิด เป็น –การนำเอาภาพของงาน และภาพความสำเร็จของโครงงานที่ –วิเคราะห์ไว้มาจัดทำรายละเอียด เพื่อแสดงแนวคิด แผน และขั้น–ตอนการทำโครงงาน w การดำเนินงานในขั้นนี้อาจใช้การระดมสมอง ถ้าเป็นการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้มองเห็นภาระงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น รวมทั้งได้ทราบถึงบทบาทและระยะเวลาในการดำเนินงาน เมื่อเกิดความชัดเจนแล้วจึงนำเอามากำหนดเขียนเป็นเค้าโครงของโครงงาน
เค้าโครงของโครงงานจะประกอบด้วยหัวข้อตังนี้–
หัวข้อ/รายการ รายละเอียดที่ต้องระบุ
1. ชื่อโครงงาน ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ครู-อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีในท้องถิ่น ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของผู้เรียน
–
4. หลักการและเหตุผล สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการ และความคาดหวังที่จะเกิดผล
5. จุดหมาย/วัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
6. ระยะเวลาดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
– 7. สมมุติฐานของการศึกษา (ในกรณีที่เป็นโครงงาน การทดลอง) ข้อตกลง/ข้อกำหนด/เงื่อนไข เพื่อเป็นแนวทางในการพิสูจน์ ให้เป็นไปตามที่กำหนด
8. ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่
9. ปฏิบัติโครงงาน วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จ
– 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับสภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิตกระบวนการ และ ผลกระทบ
11. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม ชื่อเอกสาร ข้อมูล ที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน
การปฏิบัติโครงงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการดำเนินงาน หลังจากที่โครงงานได้รับความเห็นชอบจากครู-อาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับการอนุมัติจากสถานศึกษาแล้ว ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงงาน และระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้เรียนต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัด และความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย
การปฏิบัติโครงงาน– ในระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงงาน ต้องมีการจดบันทึก –ข้อมูลต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดว่า ทำอะไร ได้ผลอย่างไร ปัญหา –อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขอย่างไร การบันทึกข้อมูลดัง –กล่าวนี้ ต้องจัดทำอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อ –มูล สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานในโอกาสต่อไปด้วย
การปฏิบัติกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนการดำเนินงานในโครงงาน ถือว่าเป็นการเรียนรู้เนื้อหา ฝึกทักษะต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้
การเขียนรายงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการสรุปรายงาน –ผล การดำเนินงานโครงงาน เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบถึงแนวคิด วิธี –ดำเนินงาน ผลที่ได้รับ ตลอดจนข้อสรุป ข้อเสนอแนะต่าง ๆ –เกี่ยวกับโครงงาน w การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน และครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ของโครงงานที่ปฏิบัติไปแล้ว โดยอาจเขียนในรูปของ สรุป รายงานผล ซึ่งอาจประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินงาน ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอื่นๆเกี่ยวข้องจัดไว้ในภาคผนวก
การแสดงผลงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงาน เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงานทั้งหมดมาเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงงานประเภทต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเอกสาร รายงาน ชิ้นงาน แบบจำลอง ฯลฯ ตามประเภทของโครงงานที่ปฏิบัติ – การแสดงผลงาน ซึ่งเป็นการนำเอาผลการดำเนินงานมาเสนอนี้ สามารถจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ หรือทำเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดทำเป็นสื่อมัลติมีเดีย และอาจนำเสนอในรูปแบบ ของการแสดงผลงาน การนำเสนอด้วยวาจา รายงาน บรรยาย ฯลฯ
2. ความสมดุลของกิจกรรม (Balance of Activities) การสอนแบบโครงการจะทำให้ผู้เรียน ได้ปฏิบัติกิจกรรมทั้งที่เป็นกิจกรรมทางวิชาการ ใช้กิจกรรมเป็นสื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม ค้นหาความรู้ เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆที่อยู่รอบตัว
3. โรงเรียนคือส่วนหนึ่งของชีวิต (School as Life) การเรียนการสอนในโรงเรียนต้องเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็ก ไม่ใช่แยกออกจากชีวิตประจำวันโดยทั่วไป กิจกรรมในโรงเรียนจึงควรเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตปกติ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและผู้คนรอบๆ ตัวเด็ก
4. ห้องเรียนเป็นชุมชนหนึ่งของเด็ก ๆ (Community Ethos in the Class) เด็ก ๆ ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัว การสอนแบบโครงการเปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกถึงคุณลักษณะ ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อของเขา ในการสอนแบบนี้จึงเกิดการแลกเปลี่ยนการมี ปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง เด็กเรียนรู้ความแตกต่างของตนกับเพื่อน ๆ
5.การเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ท้าทายครู (Teaching as a Challenge) ในการสอนแบบโครงการ ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก แต่เป็นผู้คอยกระตุ้น
ชี้แนะ และให้ความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน
โครงงานบางโครงงานครูเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับเด็ก ครูร่วมกันกับเด็กคิดหาวิธีแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติไปด้วยกัน ถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน
การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้สามารถฝึกทักษะสำคัญ ๆ ดังนี้
1. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal skill)
2. การแก้ปัญหาและความขัดแย้ง (Conflict resolution)
3. ความสามารถในการถกเถียง เจรจา เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ (Consensus on decision)
4. เทคนิคการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิภาพ (Effective interpersonal Communication Techniques)
5. การจัดการและการบริหารเวลา
6. เตรียมผู้เรียนเพื่อจะออกไปทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.1 ทักษะในแง่ความรู้เกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมจิตใจและควบคุม ตนเอง (discipline knowledge)
6.2 ทักษะเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม (group-process skill)
7. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีความรู้มากขึ้น มีมุมมองหลากหลาย (multi perspective) อันจะนำไปสู่ความสามารถทางสติปัญญา การรับรู้ ความเข้าใจ ความจดจำ และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
8. เพิ่มความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น อันนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะการสื่อสาร (critical thinking and communication skill) (Freeman, 1995)
9. ช่วยสนับสนุนการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมจากการเรียนรู้ จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential learning) (Kolb, 1984)
10. การเรียนแบบโครงงานช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative learning) ในกลุ่มของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในการเรียน โดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม (group dynamic)
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญต่อผู้เรียน
ในการเลือกเรียนสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทั้งเนื้อหา วิธีการ โดยมีครูเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จในการเรียน ทั้งในแง่ของความรู้ด้านวิชาการและความรู้ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงานในอนาคต เป็นผู้มีความสมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ปัญญา อารมณ์ สังคม
ประเภทของโครงงานโครงงานที่ผู้เรียนจะปฏิบัติในแต่ละระดับ อาจจัดแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ตามลักษณะของการปฏิบัติได้ดังนี้ (สุชาติ วงศ์สุวรรณ, 2542)
1.โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
2.โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง
3.โครงงานที่เป็นการศึกษา ความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือ แนวคิดใหม่
4.โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น
โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูลโครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ เพื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือความสัมพันธ์ของเรื่องดังกล่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การปฏิบัติตามโครงงานนี้ ผู้เรียนจะต้องไปศึกษา รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถาม สัมภาษณ์ สำรวจ โดยใช้เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก ฯลฯ ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างโครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล เช่น การสำรวจประชากร พืช สัตว์ การสำรวจความต้องการเกี่ยวกับอาชีพของ
โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลองโครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยการออกแบบโครงงานในรูปของการทดลองเพื่อศึกษาว่า ตัวแปรหนึ่งจะมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาอย่างไรบ้าง ด้วยการควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ การทำโครงงานประเภทนี้ จะมีขั้นตอนการดำเนินงานประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ หรือสมมุติฐาน การออกแบบทดลอง การรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลอง การแปรผล และสรุปผลการทดลอง
ตัวอย่างโครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง เช่น วิธีการประหยัดน้ำประปาภายในบ้าน
โครงงานที่เป็นการศึกษาความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่
โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หรือขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ซึ่งความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดที่เสนอต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการหรือวิธีการที่น่าเชื่อถือตามกติกา/ข้อตกลงที่กำหนดขึ้นมาเอง หรืออาจใช้กติกาหรือข้อตกลงเดิมมาอธิบายข้อความรู้ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดใหม่ ก็ได้
โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์คิดค้น
โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนำเอาความรู้ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดมาประยุกต์ใช้ โดยการประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียน การทำงาน หรือการใช้สอยอื่น ๆ
การประดิษฐ์คิดค้นตามโครงงานนี้ อาจเป็นการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่มีใครทำ หรืออาจเป็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงการการจัดการเรียนแบบโครงการแบ่งขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในโครงการออกได้ 5 ระยะ ที่สำคัญ ดังนี้
–1. ระยะเตรียมการวางแผนเข้าสู่โครงการ (Preliminary Planning)
–2. ระยะเริ่มต้นโครงการ (Getting Project Start)
–3. ระยะดำเนินโครงการ (Project in Progress)
–4. ระยะสรุปและอภิปรายผลโครงการ (Consolidating Project)
–5.ระยะการนำเสนอโครงงาน ( Present Project )
การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องทำโครงงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้เป็นการคิดหาหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน โดย ผู้เรียนต้องตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่า – - จะศึกษาอะไร – - ทำไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าว – สิ่งที่จะนำมากำหนดเป็นหัวข้อเรื่องโครงงาน จะได้มาจาก ปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ ของผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้เรียนได้อ่านจากหนังสือ เอกสาร บทความ ยอมฟังความคิดเห็น ฟังการบรรยาย การสนทนา หรือจากการที่ได้ไปดูงาน ทัศนศึกษา
การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องทำโครงงาน– หัวเรื่องของโครงงาน ต้องเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง และชัดเจนว่า โครงงานนี้ทำอะไร และควรเน้นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว หรือมีความคุ้นเคยกับเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่นักศึกษามีความสนใจ อยากจะศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะต้องใช้เวลาในการศึกษา พอสมควรที่จะทำให้ได้มาซึ่งคำตอบ
การศึกษาเอกสารและข้อมูล– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้จะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ของเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทำให้เห็นถึงขอบข่ายของภาระงานที่จะดำเนินการของโครงงานที่จะทำผลที่ได้จากการดำเนินงานขั้นตอนนี้ จะช่วยทำให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่ายหรือเค้าโครงของเรื่องที่จะศึกษาชัดเจนว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำต้องการให้เกิดอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร ทำกับใคร จะเสนอผลอย่างไร ฯลฯ และเป็นการเตรียมความรู้ ความเข้าใจในการทำโครงงานให้มากยิ่งขึ้น
การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
–การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการสร้างแผนที่ความคิด เป็น –การนำเอาภาพของงาน และภาพความสำเร็จของโครงงานที่ –วิเคราะห์ไว้มาจัดทำรายละเอียด เพื่อแสดงแนวคิด แผน และขั้น–ตอนการทำโครงงาน w การดำเนินงานในขั้นนี้อาจใช้การระดมสมอง ถ้าเป็นการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้มองเห็นภาระงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น รวมทั้งได้ทราบถึงบทบาทและระยะเวลาในการดำเนินงาน เมื่อเกิดความชัดเจนแล้วจึงนำเอามากำหนดเขียนเป็นเค้าโครงของโครงงาน
เค้าโครงของโครงงานจะประกอบด้วยหัวข้อตังนี้–
หัวข้อ/รายการ รายละเอียดที่ต้องระบุ
1. ชื่อโครงงาน ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ครู-อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีในท้องถิ่น ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของผู้เรียน
–
4. หลักการและเหตุผล สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการ และความคาดหวังที่จะเกิดผล
5. จุดหมาย/วัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
6. ระยะเวลาดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น
– 7. สมมุติฐานของการศึกษา (ในกรณีที่เป็นโครงงาน การทดลอง) ข้อตกลง/ข้อกำหนด/เงื่อนไข เพื่อเป็นแนวทางในการพิสูจน์ ให้เป็นไปตามที่กำหนด
8. ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่
9. ปฏิบัติโครงงาน วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จ
– 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับสภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิตกระบวนการ และ ผลกระทบ
11. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม ชื่อเอกสาร ข้อมูล ที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน
การปฏิบัติโครงงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการดำเนินงาน หลังจากที่โครงงานได้รับความเห็นชอบจากครู-อาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับการอนุมัติจากสถานศึกษาแล้ว ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงงาน และระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้เรียนต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความประหยัด และความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย
การปฏิบัติโครงงาน– ในระหว่างการปฏิบัติงานตามโครงงาน ต้องมีการจดบันทึก –ข้อมูลต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดว่า ทำอะไร ได้ผลอย่างไร ปัญหา –อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขอย่างไร การบันทึกข้อมูลดัง –กล่าวนี้ ต้องจัดทำอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อ –มูล สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานในโอกาสต่อไปด้วย
การปฏิบัติกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนการดำเนินงานในโครงงาน ถือว่าเป็นการเรียนรู้เนื้อหา ฝึกทักษะต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้
การเขียนรายงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นการสรุปรายงาน –ผล การดำเนินงานโครงงาน เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบถึงแนวคิด วิธี –ดำเนินงาน ผลที่ได้รับ ตลอดจนข้อสรุป ข้อเสนอแนะต่าง ๆ –เกี่ยวกับโครงงาน w การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน และครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ของโครงงานที่ปฏิบัติไปแล้ว โดยอาจเขียนในรูปของ สรุป รายงานผล ซึ่งอาจประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินงาน ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอื่นๆเกี่ยวข้องจัดไว้ในภาคผนวก
การแสดงผลงาน
– การดำเนินงานตามขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงาน เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงานทั้งหมดมาเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงงานประเภทต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเอกสาร รายงาน ชิ้นงาน แบบจำลอง ฯลฯ ตามประเภทของโครงงานที่ปฏิบัติ – การแสดงผลงาน ซึ่งเป็นการนำเอาผลการดำเนินงานมาเสนอนี้ สามารถจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ หรือทำเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดทำเป็นสื่อมัลติมีเดีย และอาจนำเสนอในรูปแบบ ของการแสดงผลงาน การนำเสนอด้วยวาจา รายงาน บรรยาย ฯลฯ
5.วิทยาศาสตร์กายภาพสำหรับครู
วิทยาศาสตร์โลก
สาระความรู้วิทยาศาสตร์ในเว็บไซต์นี้ พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนนิสิตปริญญาตรี วิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพสำหรับครู 1 (Physical And Biological Science For Teacher I) รหัสวิชา 2721370 และวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพสำหรับครู 2 (Physical And Biological Science For Teacher II) รหัสวิชา 2721371 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และใช้เป็นบทเรียนออนไลน์ในหลักสูตร iEarth อย่างไรก็ตามสาระความรู้ในเว็บไซต์นี้ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ครูและนักเรียนสามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนภายในโรงเรียน บุคคลทั่่วไปที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมความรู้ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของโลกและจักรวาล
6.คณิตศาสตร์สำหรับครูระดับประถมศึกษา
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระการเรียนรู้ที่กำหนดเป็นสาระหลักที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน ประกอบด้วยเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้ผู้สอนควรบูรณาการ
สาระต่าง ๆ เข้าด้วยกันเท่าที่จะเป็นไปได้
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์
7. พลศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา
พลศึกษาในเชิงร่างกาย ก็คือการทำให้ร่างกายมีพลังที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย
1 ความแข็งแรง เช่น ข้อมือ สามารถยกสิ่งของหนักได้
2 ความเร็ว เช่น การวิ่งระยะสั้น 50 เมตร ในเวลาที่กำหนด
3 ความอ่อนตัว เช่น การก้มตัว เข่าตึง ไปหยิบของบนพื้น
4 ความคล่องแคล่ว เช่น การโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
5 ความทนทาน เช่น การเดินเร็ว หรือวิ่งระยะทางไกล เป็นเวลานาน
6 ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การที่เหงื่อออกจากร่างกาย และการจับชีพจรตามเกณฑ์ที่กำหนด
พลศึกษาในเชิงจิตใจพลศึกษาในเชิงจิตใจ ก็คือ พละ 5 แปลว่าธรรมอันเป็นกำลัง ที่สถิตย์ในจิตใจคน มีพลังเป็นนามธรรม ประกอบด้วย
1 ศรัทธา - ความเชื่อ คือเชื่อว่าจิตของคนมีพลังแฝงทุกขณะ
2 วิริยะ - ความเพียร คือคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจฝึกฝน ฝึกซ้อม ให้สำเร็จได้
3 สติ - ความระลึกได้ คือการรู้ตัวทุกขณะ ว่ากำลังเคลื่อนไหว
4 สมาธิ - ความตั้งจิตมั่น คือ การนำจิตไปจดจ่อกับการเคลื่อนไหวในขณะนั้น
5 ปัญญา - ความรู้ชัดแจ้ง คือ น้อมนำความคิด วิธีคิดว่าขณะที่เคลื่อนไหว ต้องแก้ปัญหาขณะนั้นและคิดการณ์ล่วงหน้าเสมอ
พลศึกษาในเชิงการศึกษาพลศึกษาในเชิงการศึกษา เป็นส่วนขององค์ประกอบ 4 ประการ ของการศึกษา ตามหลักสูตร 2504 ประกอบด้วย 1 พุทธิศึกษา - การพัฒนาด้านสติปัญญา 2 จริยศึกษา - การพัฒนาด้านคุณธรรม 3 หัตถศึกษา - การพัฒนาทักษะ 4 พลศึกษา - การพัฒนาด้านสุขภาพกายใจพลศึกษาในเชิงความยอดเยี่ยม“ยอดเยี่ยม” แปลความตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นคำวิเศษณ์ ว่า ดีที่สุด, เลิศที่สุด ดังนั้นส่วนหนึ่งจากชื่อหัวข้อเรื่องคือ พลศึกษาเป็นคำที่ยอดเยี่ยม ผู้เขียนกำลังจะให้วิธีคิดและข้อคิดที่จะให้ทุกคนเข้าใจพลศึกษาในมุมมองของคำว่า “ยอดเยี่ยม” ซึ่งเป็นนามธรรมอันทรงคุณค่าแขนงหนึ่งที่ไม่มีการเปรียบเทียบกับแขนงอื่น
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ แปลคำ “ พลศึกษา ” ว่า การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและพัฒนาการทางร่างกาย จากคำแปลนี้ นักวิชาการทางพลศึกษาทั้งต่างประเทศและในประเทศต่างให้คำจำกัดความของพลศึกษา ด้วยอรรถรสทางภาษาหลายรูปแบบ หลายลีลา แต่เมื่อตีความกันแล้ว มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน เข้าใจกันว่าพลศึกษาเป็นอย่างไร คืออะไร หมายถึงอะไร เพียงแต่นักวิชาการทางพลศึกษาบางคนอาจมีรายละเอียดในการใช้คำมากกว่าบางคน ทั้งหมดทั้งมวล อ่านแล้วเข้าใจและให้ความหมายไปในทิศทางเดียวกันนั่นเอง ในฐานะผู้เขียนเป็นครูพลศึกษาคนหนึ่ง มีประสบการณ์สอนมา ๓๒ ปี ขอให้แนวทางคำว่า
พลศึกษา เพื่อให้มองเห็นเนื้อในใจความของคำนี้อย่างถ่องแท้ในความหมาย ๓ ระดับจากคำว่า “คือ” ให้ภาษาที่สั้น กระชับและกว้างๆ จากคำว่า “เป็น” ให้ภาษาพื้นฐานที่เข้าใจได้และแยกย่อยอย่างง่ายๆ และ“หมายถึง” ให้ภาษาที่ขยายความ ที่แตกคำออก และเพิ่มคำที่สำคัญ ดังนี้
พลศึกษา คือ ศาสตร์และศิลป์ในการเรียนรู้ร่างกายและจิตใจ
พลศึกษา เป็น ชื่อสาระการเรียนรู้แขนงหนึ่งที่บังคับเรียนตามหลักสูตร เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจอย่างถูกวิธี หรือหากจะเพิ่มรายละเอียดมากขึ้น ขอขยายความว่า
พลศึกษา หมายถึง สาระการเรียนรู้แขนงหนึ่ง ที่ว่าด้วยการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวที่ต้องบังคับร่างกายและควบคุมจิตใจ เพื่อก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และใช้กีฬาเป็นสื่อในการเรียนรู้
แล้วถามต่อว่า เรียนพลศึกษาไปทำไม ก็จะต้องมีการสร้างวิธีคิดให้กับผู้เรียนเช่นกันว่าทุกเรื่องที่เรียนรู้มีเป้าหมายปลายทางทั้งสิ้น ดังนี้
เรียนพลศึกษา เพื่อ ให้ร่างกายและจิตใจมีการเคลื่อนไหวที่ถูกวิธีและถูกต้อง จนก่อเกิดความแข็งแรงในร่างกายและความแข็งแกร่งในจิตใจ เมื่อเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ จะมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดีต่อไป
จากนัยสำคัญของพลศึกษาในแง่ของคำว่า คือ,เป็น,หมายถึงและเพื่อ นั้น ย่อมแสดงถึงคุณค่ามหาศาลของคำ คำนี้ และเมื่อจะถอดรหัสใจความของเนื้อในที่มีหลายคำที่ทรงคุณค่า และสำคัญ ไม่ว่า ศาสตร์, ศิลป์, เคลื่อนไหว, บังคับร่างกาย, ควบคุมจิตใจ, ถูกวิธี, มีประสิทธิภาพ, ออกกำลังกาย, กีฬาเป็นสื่อ, ความแข็งแรงในร่างกาย, ความแข็งแกร่งในจิตใจ และสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ยิ่งทำให้เห็นว่า คำนามธรรมคำหนึ่งที่ชื่อว่า “พลศึกษา” นั้น ทำไมจึงเป็นสาระการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยมได้ เพียงแต่จะไม่ขอกล่าวรายละเอียดในที่นี้ แต่จะให้แนวคิด, ข้อคิด และวิธีคิด
อีกแง่มุมหนึ่งที่นักวิชาการทางพลศึกษาหลายคนมองข้ามไป กล่าวคือ จากการที่การศึกษาส่วนใหญ่ เรียนรู้มาจากองค์ความรู้จากตะวันตกเป็นหลัก ซึ่งก็คือ “ความรู้ทางโลก” ทำให้องค์ความรู้ทางตะวันออกอีกแง่มุมหนึ่งลืมเลือนไปหรือให้ความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งก็คือ “ความรู้ทางธรรม” นั่นคือ วิธีคิดทางธรรม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมอยู่ตลอดเวลา และอยู่ใกล้ตัวของคนมากที่สุด
ในอดีตชาวพลศึกษาหลายคนเคยได้รับการปลูกฝังจากครูบาอาจารย์ และรุ่นพี่ ให้พูดคำว่า พลศึกษา ให้เต็มคำ ไม่ใช่พูดว่า “พละ” ซึ่งความคิดขณะนั้น จะหมายถึงว่าใช้เฉพาะกำลัง ไม่ออกแนวใช้ความรู้ทางสมองมากนักหรือไม่ออกแนววิชาการนั่นเอง แต่เกรงว่าคนอื่นจะเข้าใจผิดว่าชาวพลศึกษาใช้แต่กำลังมากกว่าใช้สมอง เมื่อวันเวลาผ่านไป ประสบการณ์และการเรียนรู้มากขึ้น ผู้เขียนเริ่มเข้าใจว่า พูดคำว่า “พละ” ก็ได้ แถมมีนัยสำคัญทางธรรมะประกอบอยู่เสมอ ให้ระลึกเสมอว่า พละเป็นเรื่องที่มีความรู้ทางโลกและทางธรรมอยู่รวมกัน อยู่ร่วมกัน และอยู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดเวลา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พ.ศ. ๒๕๒๗ กล่าวว่า
พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง เป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค ประกอบด้วย ๑ ศรัทธา คือ การเชื่อ เป็น ความเชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล ไม่ตื่นตูมไปกับลักษณะอาการภายนอก ๒ วิริยะ คือ ความเพียร เป็น การประพฤติความดี ทำกิจไม่ย่อท้อ ๓ สติ คือ การนึกได้ เป็น ไม่เผลอ คุมใจไว้ได้กับกิจที่ทำ ๔ สมาธิ คือ มีใจตั้งมั่น เป็น การทำใจให้สงบนิ่ง และ ๕ ปัญญา คือ การเข้าใจที่ชัดเจน เป็น การหยั่งรู้ แยกแยะได้ในเหตุผล ที่ถูกและผิด
เพื่อให้เป็นรูปธรรม จะขอยกตัวอย่างกีฬา เปตอง ดังนี้
๑ ศรัทธา ต้องเข้าใจและยอมรับว่า เปตองเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์ หรือขณะอารมณ์ไม่ดี ต้องดึงเอา ปัญญา มาจับอาการให้ทัน
๒ วิริยะ หมั่นฝึกซ้อม ฝึกฝน อย่างจริงจังตั้งใจและมั่นคง มี ปัญญา ควบคุมตลอดเวลาว่าที่ปฏิบัติมานั้นดีแล้ว
๓ สติ ในการปฏิบัติหรือเล่นหรือแข่งขัน จิตใจต้องจดจ่อไปที่การเคลื่อนไหวในขณะนั้น เวลานั้น อย่าเผลอคิดเร่องอื่นให้วุ่นวาย และมี ปัญญามากำกับอีกเช่นกัน
๔ สมาธิ เป็นการเพิ่มความเข้มบนความมุ่งมั่นมากกว่าสติ แต่นำปัญญามาควบคุมเช่นเดิม
๕ ปัญญา ต้องใช้การฟัง คิด ถาม และเขียน ให้เป็นนิสัย สะสมให้มาก เพื่อเป็นต้นทุนในการสร้างกำลังใจ ความแข็งแกร่งทางจิตและต่อเติมความคิดอย่างชาญฉลาด
ดังนั้นขอขยายความว่า พละ ๕ กับนักกีฬาเปตองหรือคนเล่นเปตอง เมื่อเรียนรู้ทักษะกลไกทางการเคลื่อนไหวของเปตองแล้ว ที่เรียกว่า ความรู้ทางโลก ที่มีองค์ประกอบของการใช้ร่างกายที่มีกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท ข้อต่อต่างๆ มาผสมผสานกับส่วนสมองในการคิดหาวิธีการฝึกฝนให้มีทักษะที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันนั้น ความรู้ทางธรรมคือ พละ ๕ ก็กำลังดำเนินการอยู่ภายในจิตใจ ควบคุมการฝึกฝนทักษะพร้อมกันตลอดเวลา สามารถเห็นเป็นรูปธรรม เมื่อแสดงออกมาทางอากัปกิริยาท่าทาง สีหน้า วาจา และอารมณ์ จึงเห็นว่าความรู้ทางโลกเสมือนเป็นศาสตร์ ที่ต้องเก็บเกี่ยวสาระความรู้มาคั้นกลั่นกรองสู่สมอง นำออกไปใช้ และความรู้ทางธรรมเสมือนเป็นศิลป์ ที่ต้องรู้จักบุคลิกตน รู้จักวางตน ใช้ความรู้ให้เหมาะสมกับสถานที่และช่วงเวลาในขณะนั้น ตามข้อตกลง และระเบียบที่กำหนด
พละ ๕ ที่นำไปใช้ในกีฬาเปตองเกิดขึ้นทุกขณะที่มีการอยู่นิ่ง หรือเคลื่อนไหว และเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง พละ ๕ หรือไล่เลี่ยกันเป็นทอดๆอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ประสบการณ์การสอนพลศึกษาทำให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ คำว่า “พลศึกษา” มาเป็นข้อคิดก็ได้ คำคมก็ดี ที่ส่งเสริมให้ คำว่าพลศึกษาเป็นสาระการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยม ดังประโยคและวลีต่อไปนี้
พลศึกษา เป็น ศาสตร์ และ ศิลป์ ที่ผสมผสานความรู้ทางโลก และ ความรู้ทางธรรม ในเรื่อง
๑ การใช้ เรี่ยวแรง อย่างชาญฉลาด เป็นศาสตร์ของความรู้ทางโลก
๒ การใช้ การเคลื่อนไหว อย่างหลักแหลม เป็นศาสตร์ของความรู้ทางโลก
๓ การใช้ สมอง อย่างปราดเปรื่อง เป็นศาสตร์ของความรู้ทางโลก
และ ๔ การใช้ จิต อย่างแยบยล เป็นศิลป์ของความรู้ทางธรรม
จึงเห็นได้ว่า พลศึกษาเป็นคำที่ยอดเยี่ยม ในตัวตนของมันเอง เป็นภาษาไทยคำหนึ่ง ที่มีคุณค่าอยู่ในชื่อของคำนี้ ไม่สมควรไปเปรียบเทียบกับคำในวิชาชีพอื่น ซึ่งก็มีคุณค่าเฉกเช่นกัน เป็นคำที่ประกอบด้วยความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรมอยู่ในคำ ส่วนการได้รับการสรรเสริญหรือการได้รับความเสื่อมเสียของคำนี้นั้น มาจากน้ำมือและการกระทำของคนที่นำพลศึกษาไปใช้ ว่าเข้าใจ เข้าถึง และลึกซึ้งกับคำว่า “พลศึกษา” หรือไม่อย่างไร เพราะพลศึกษาเป็นเนื้อหาและกิจกรรมที่เกี่ยวโยงนำมาเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจของคน จะเรียกว่าพลศึกษาอยู่ในร่างกายและจิตใจของทุกคน ทุกขณะและทุกเวลา ดังนั้นพลศึกษาจึงเป็นคำที่ยอดเยี่ยมอย่างเยี่ยมยอดจริงๆ
พลศึกษาในเชิงความยิ่งใหญ่“ยิ่งใหญ่” แปลความตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นคำวิเศษณ์ ว่า มีอำนาจมาก, มีสติปัญญาความสามารถสูง คงไม่เป็นการยกย่อง ยกยอจนเกินเลยว่า พลศึกษานั้นยิ่งใหญ่ เพราะเหตุและปัจจัยหลายอย่างที่ประจักแก่สายตาของผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องและใช้พลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวัน ทำให้คนที่ออกกำลังกาย มีสุขภาพ มีร่างกายที่แข็งแรง มีจิตใจที่แข็งแกร่ง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ดั่งแนวทางพุทธศาสนาที่ว่า “การสะสมบุญกุศลหรือการสะสมสิ่งดีดีแก่ชีวิต ย่อมนำความสุขและความเจริญมาให้ผู้นั้นเสมอ” เป็นความจริงที่ปรากฏมาร่วม ๒๕๐๐ กว่าปีแล้ว นี่แหละพลังอันยิ่งใหญ่ของพลศึกษา
จากคำแปลของคำว่า “ยิ่งใหญ่” ทำให้เห็นว่าพลศึกษามี ๒ ส่วนที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ คือ ๑ พลังอำนาจ บ่งบอกทางร่างกาย-จิตใจ ๒ พลังสติปัญญาความสามารถสูง บ่งบอกทางสมอง ดังขอขยายความออกเป็น
๑ ความยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของพลศึกษาแห่งพลังอำนาจ ที่บ่งชี้ทางพลังกาย คือ คนใดที่ได้ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่มีมากมายหลายหลากของพลศึกษาในเชิงร่างกาย ย่อมเกิด
๑.๑ ความแข็งแรง (Strength) เช่น ข้อมือสามารถยกของหนักได้ จากที่ไม่เคยยกได้มาก่อน เป็นต้น
๑.๒ ความเร็ว ( Speed ) เช่น วิ่งได้เร็วและเร่งมากขึ้น อย่างไม่เหนื่อย เป็นต้น
๑.๓ ความอ่อนตัว (Flexibility) เช่น สามารถก้มตัว หยิบของบนพื้นได้อย่างสบาย ไม่ปวดเมื่อย เป็นต้น
๑.๔ ความคล่องแคล่ว ( Agility ) เช่น สามารถโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้รวดเร็ว เป็นต้น
๑.๕ ความทนทาน (Endurance) เช่น เดินหรือวิ่งได้นานขึ้น และไม่เมื่อยล้า เป็นต้น
๑.๖ ระบบไหลเวียนโลหิต (Circular –Respiratory Fitness) เช่น มีเหงื่อออกจากร่างกายมากขึ้น ทำให้รู้สึกสดชื่น เป็นต้น
ทำให้นึกถึงกฎข้อหนึ่งที่ว่า law of use and disuse ( กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ ) ของนายฌอง แบพติสท์ เดอ ลามาร์ก ชาวฝรั่งเศส ที่วางรากฐานทฤษฎีวิวัฒนาการ คืออวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ใช้บ่อย ย่อมมีการพัฒนาเจริญเติบโตอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเสมือนกับทางพลศึกษาคือ กล้ามเนื้อมัดใดของร่างกายที่ใช้บ่อย จะก่อให้เกิดความแข็งแรง ในทำนองตรงกันข้าม กล้ามเนื้อมัดใดที่ร่างกายไม่ได้ใช้ ย่อมอ่อนแอ
หากนำพลังอำนาจมากล่าวถึงในเชิงจิตใจ ดั่ง พละ ๕ เสมือนธรรมอันเป็นกำลัง มีพลังอำนาจเป็นศักยภาพที่สถิตในจิตใจคน ดังนี้
๑ ศรัทธา - ความเชื่อ คือเชื่อว่าจิตของคนมีพลังแฝงทุกขณะ
๒ วิริยะ - ความเพียร คือคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจฝึกฝน ฝึกซ้อม ให้สำเร็จได้
๓ สติ - ความระลึกได้ คือการรู้ตัวทุกขณะ ว่ากำลังเคลื่อนไหว
๔ สมาธิ - ความตั้งจิตมั่น คือ การนำจิตไปจดจ่อกับการเคลื่อนไหวในขณะนั้น
๕ ปัญญา - ความรู้ชัดแจ้ง คือ น้อมนำความคิด วิธีคิดว่าขณะที่เคลื่อนไหว ต้องแก้ปัญหาขณะนั้นและคิดการณ์ล่วงหน้าเสมอ
๒ ความยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของพลศึกษาแห่งพลังสติปัญญาความสามารถสูง ที่บ่งชี้ทางพลังสมองของคน ในการศึกษาเล่าเรียนศาสตร์และศิลป์ทางพลศึกษา ที่แตกแขนงออกไปหลายแขนง ดังนี้
๒.๑ วิทยาศาสตร์การกีฬา ( Sport Science ) เป็นการศึกษาและเรียนรู้จากการสังเกต ค้นคว้า ทดลองและวิจัยในเรื่องที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเคลื่อนไหว เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่แข็งแรงและจิตใจที่แข็งแกร่ง
๒.๒ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ( Anatomy and Physiology ) เป็นการศึกษาและเรียนรู้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท ของร่างกาย เพื่อให้การเคลื่อนไหวถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
๒.๓ จิตวิทยาการกีฬา ( Psychology of Sport ) เป็นการศึกษาและเรียนรู้พฤติกรรม อารมณ์ บุคลิกของคน เพื่อทำให้มีสภาวะจิตใจที่เข้มแข็งและมั่นคงในกิจกรรมการเคลื่อนไหว
๒.๔ ชีวกลศาสตร์ ( Biomechanics ) เป็นการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับแรง ขนาดของวัตถุ ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การเคลื่อนไหวมีประสิทธิผล
๒.๕ เวชศาสตร์การกีฬา ( Sports medicine ) เป็นการศึกษาและเรียนรู้การป้องกัน รักษา กายภาพบำบัดและวินิจฉัยเรื่องการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหว เพื่อให้ร่างกายและจิตใจคืนสภาพสู่ภาวะปกติ
๒.๖ โภชนศาสตร์การกีฬา ( Nutrition of Sport Science ) เป็นการศึกษาและเรียนรู้เรื่องอาหารที่นำมาใช้กับร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและมีพลังงานในการทำงานอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวข้างต้น อาจมีการแตกแขนง เพื่อเพิ่มสาระเนื้อหาให้มากและเจาะลึกในรายละเอียดได้ จะเห็นได้จากการนำเนื้อหาเพียง “กีฬา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งส่วนย่อยของพลศึกษาเท่านั้น แต่สามารถสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับคนที่มีความสามารถในเชิงกีฬา และสร้างชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ความยิ่งใหญ่ของกีฬานั้น คนยังคงมองข้ามข้อตกลง ข้อบังคับ กฎกติกา ที่เป็นความรู้ทางธรรม มุ่งเน้นจริยธรรม จรรยามรรยาท ที่แอบแฝงปลูกฝังคนให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬาควบคู่ไปกับความเก่งกาจทางทักษะกลไก
จึงเห็นว่าความยิ่งใหญ่ของพลศึกษา มีพลานุภาพและเสริมส่งภูมิปัญญาในองค์ความรู้ที่หลากหลายมากมายอย่างไม่จบสิ้น และพลศึกษาเสมือนตัวแม่ในการแตกแขนงความรู้เหล่านี้ เพื่อดำเนินการจัดการเป็นสาขาวิชาหนึ่ง หรืออาจเป็นภาควิชาหนึ่ง หรือคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยก็ได้ ตราบใดองค์ความรู้ที่เรียนรู้เกี่ยวข้องและถ่ายโยงสู่ร่างกายและจิตใจของคน ตราบนั้นพลศึกษายังคงดำรงอยู่ในเลือดเนื้อเชื้อไขและจิตใจของคนไปตลอด
พลศึกษาในเชิงความก้าวไกล“ก้าวไกล” แปลความได้ว่า การเจริญวัฒนาขึ้นไปตามลำดับ เพราะพลศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของคน เมื่อวิวัฒนาการความคิดในการสร้างสรรค์ของคนไม่หยุดนิ่ง ศึกษาหาความรู้ ค้นคว้า และวิจัยมาตลอด นำการเคลื่อนไหวของคนมาประยุกต์ ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง และส่งเสริมให้เป็นเกม เป็นกีฬา เป็นการออกกำลังกาย ทำให้การก้าวไปของพลศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบขั้นตอน และเน้นการแข่งขันเพื่อพัฒนา คิดค้น วิจัย ให้การแข่งขันไปสู่เป้าหมายสูงสุดอย่างไม่สิ้นสุด
การก้าวไกลของพลศึกษา เน้นกิจกรรมทางกีฬา จัดในรูปแบบการเล่นกีฬานานาชนิด การแข่งขันกีฬานานาชาติ เพื่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งในแถบเอเชียจะเห็นขั้นตอนการแข่งขันกีฬาจากประเทศกลุ่มเล็กไปสู่ประเทศกลุ่มใหญ่ อย่างเช่นประเทศในแถบกบลุ่มเอเชีย มีกีฬาซีเกมส์ (Southeast Asian Games หรือ SEA Games) มีประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายเป็นกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) หรือเรียกว่า "Asiad" คือกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย จากนั้นสู่ทั่วโลกคือกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games), ชี้ให้เห็นว่ามีการวิวัฒนาการในรูปแบบกีฬาแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ มาหลายครั้งหลายคราอย่างต่อเนื่อง
จากแนวคิดและเป็นความจริงเสมอของพุทธศาสนาที่ว่า “ ไม่มีสิ่งใดในโลกใบนี้ที่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งเดียวหรืออยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต้องประกอบขึ้นจากสิ่งหลายสิ่งมารวมกัน ” ดั่งความจริงที่ใกล้ตัวที่สุดคือร่างกายของคน มีองค์ประกอบมากมายที่ประกอบและรวมตัวกันเป็นร่างกาย และพยายามพัฒนาการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เฉกเช่น การจัดการแข่งขันกีฬาในระดับต่างๆ ไม่ว่าระดับประเทศ ระหว่างประเทศ และทุกประเทศทั่วโลก ที่ต้องประกอบด้วย
๑ สถานที่ มีการออกแบบสนามแข่งขัน ใช้วัสดุก่อสร้างที่คงทน เป็นการบูรณาการหลายศาสตร์ เพื่อความเกรียงไกร ความทันสมัย
๒ วัสดุอุปกรณ์กีฬา มีการคิดประดิษฐ์ ออกแบบอุปกรณ์กีฬาให้ทนทาน เบา และลดการทอนกำลังอย่างไม่น่าเชื่อ
๓ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า วงจรทางคอมพิวเตอร์ เพื่อมาควบคุมการทำงานในการจับเวลา การคำนวณหาค่าคะแนน และความสะดวกในการทำงาน
๔ ระบบบริหารงาน มีการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ก่อนจัดการแข่งขันหลายปี จนกระทั่งถึงวันแข่งขัน และจบการแข่งขัน ซึ่งต้องประสานงานกับฝ่ายต่างๆอย่างมีระบบ
๕ งบประมาณ มีการคิดคำนวณ หารายได้จากส่วนของราชการและเอกชน มาสนับสนุนการจัดการแข่งขัน เพื่อให้เพียงพอ
๖ หน่วยงานต่างๆ ที่ต้องขอความร่วมมือในการสนับสนุน ส่งเสริมทั้งบุคลากรและสิ่งของ เครื่องใช้
และ ๗ ความร่วมมือของนานาประเทศ ที่ต้องปรึกษาหารือ ให้การจัดการแข่งขันมีความถูกต้องตามกฎระเบียบ และรับรู้ข้อตกลงในเรื่องต่างๆ ที่ต้องมีการพัฒนา ค้นคิด และวิจัย เพื่อให้การจัดการแข่งขันมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ต้องพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาจากหลักสูตรแขนงต่างๆ ที่ได้จากวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น ควบคู่กันไปกับส่วนต่างๆข้างต้น สู่จุดหมายปลายทางที่วางไว้ ดังปรากฏว่า นักกีฬาสามารถทำลายสถิติในกีฬากรีฑา ว่ายน้ำ หรือมียุทธวิธีการเล่นกีฬาฟุตบอลอย่างมีระบบแบบแผนสูงขึ้น มีพลังในการเสิร์ฟลูกเทนนิสที่รวดเร็วและรุนแรง มีพลังกายและพลังจิตในลีลายิมนาสติกที่ไม่คิดว่าคนจะทำได้เช่นนั้น เป็นต้น ดังนั้น ความก้าวไกลของพลศึกษา จึงไม่หยุดนิ่ง เพราะความก้าวไกลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นคนที่ต้องการพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของชีวิตอยู่เสมอ
นี่เป็นเพียงผลพลอยได้จากการใช้ “กีฬา” เป็นสื่อสู่สมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ สู่ความสามารถเชิงกลไกของคน และความมีคุณธรรมที่ควรยกย่อง นอกจากนี้ยังมีความก้าวไกลของพลศึกษาที่ให้คุณค่าและความสำคัญตลอดมาจากอดีตสู่ปัจจุบันคือ “ออกกำลังกาย” แล้วแตกแขนงรูปแบบต่างๆให้มีรสนิยมหลากหลายเป็น แอโรบิค, เครื่องมือยกน้ำหนัก จนกลายเป็นธุรกิจทางกีฬาได้อย่างมหาศาล
8.เทคนิคการสร้างเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้
เนื้อหารายวิชา
ความหมาย ความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การสร้างฐานข้อมูลความรู้ กระบวนการการมีส่วนร่วมในการคัดเลือกความรู้ การจัดการเรียนรู้ การจัดสร้างเครือข่าย การเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ของเครือข่ายในชั้นเรียน โรงเรียน และชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิคส์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกความหมายและความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ 2. อธิบายกระบวนการสร้างฐานความรู้ได้ 3. สร้างเครือข่ายและเผยแพร่ความรู้ในชั้นเรียน โรงเรียน และชุมชน 4. อธิบายการจัดการความร้ได้ เนื้อหาบทที่เรียน บทที่ 1 ความรู้กับมนุษย์ บทที่ 2 การสร้างองค์ความรู้ บทที่ 3 การสร้างฐานข้อมูลความรู้ บทที่ 4 การจัดการความรู้ บทที่ 5 การจัดสร้างเครือข่าย
9.ภาษาไทยสำหรับครู
ภาษาไทยสำหรับครูประถมศึกษา
ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 16 บทดังนี้
บทที่ 1 จุดเน้นของภาษาไทย
บทที่ 2 พัฒนาการทางภาษาและความพร้อมในการเรียนภาษาไทย
บทที่ 3 การพัฒนาการความพร้อมในการเรียนภาษาไทย
บทที่ 4 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการเรียนภาษาไทย
บทที่ 5 กิจกรรมการเรียนการสอนการเรียนภาษาไทย
บทที่ 6 ทักษะที่จำเป็นสำหรับครูภาษาไทย
บทที่ 7 การสอนทักษะการฟัง
บทที่ 8 การสอนทักษะการดู
บทที่ 9 การสอนทักษะการพูด
บทที่ 10 การสอนทักษะการอ่าน
บทที่ 11 การสอนทักษะการเขียน
บทที่ 12 การอ่านอ่านและการเขียนคำไทย
บทที่ 13 การใช้ภาษาไทย
บทที่ 14 วรรณคดีและวรรณกรรม
บทที่ 15 สื่อการเรียนการสอนภาษาไทย
บทที่ 16 การวัดผลและประเมินผลภาษาไทย
10.ภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับครู
สาระการเรียนรู้1. การเทียบเสียงพยัญชนะไทย-อังกฤษ2. การประสมสระ-พยัญชนะ3 . สามารถเขียนตามคำบอกได้ (Dictation)กระบวนการจัดการเรียนรู้Warm Up1. ให้นักเรียนฝึกออกเสียง เอ-แอะ บี-เบอะ ซี-เคอะ จนถึงตัวแซด(A-Z นั่นเอง)2. ถามว่าสระภาษาอังกฤษ 5 ตัวมีอะไรบ้าง (A E I O U Y)3. เรามานำพยัญชนะและสระมาประสมกันPresentation4. นักเรียนศึกษาตารางเทียบเสียงสระ-พยัญชนะภาษาอังกฤษจนครบหลักสูตร(ท้ายแผนการสอน)5. ครูแนะนำให้นักเรียนฝึกประสมสระ-พยัญชนะโดยเริ่มการเขียนชื่อนักเรียนเอง6. ต่อมาให้เริ่มประสมคำเริ่มจากคำง่ายๆสั้นๆ เช่น คำว่า bat rat cat corn etc.Practiceนักเรียนฝึกออกเสียงคำแต่ละคำ7. แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มเท่า ๆกันa. กลุ่มที่ 1 ฝึกอ่านออกเสียงพยัญชนะ เช่น bb. กลุ่มที่ 2 ฝึกอ่านออกเสียงสระ เช่น ac. กลุ่มที่ 3 ฝึกอ่านเสียงตัวสะกด เช่น tรวมแล้ว เป็นคำว่า bat แต่ละกลุ่มฝึกอ่านออกเสียงสลับกันจนครบทั้งสามกลุ่ม8. นักเรียนฟังเพลงและฝึกร้องเพลง A B C หรือ ครูผู้สอนจะประยุคใช้ เป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาเองก็ได้ค่ะ (ท้ายแผนการสอน)คำแนะนำ คุณครูอาจจะ ทำเป็นบัตรพยัญชนะ บัตรสระ บัตรตัวสะกด แล้วเล่นเป็นเกมส์ ประสมคำให้นักเรียนวิ่งหาคำของตัวเอง จนกว่าจะได้เป็นคำๆ เกมส์นี้สนุกค่ะ นักเรียนชอบมากๆเพราะได้ผ่อนคลายที่ได้วิ่งหาคำศัพท์ของตนเองค่ะProduction(ผลการประเมิน)9. นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะ (ท้ายแผนการสอน)Wrap Up(บทสรุป)1. นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับชนิดของพยัญชนะ สระ ตัวสะกด2. นักเรียนคัดตารางเทียบสระ-พยัญชนะ ลงในสมุดสื่อการเรียนการสอน1. บัตรพยัญชนะ บัตรสระ บัตรตัวสะกด2. เพลง : A B C3. แบบฝึกเสริมทักษะการวัดและประเมินผลการวัดผล วัดผลโดยวิธีการ ดังนี้1. สังเกตการณ์ออกเสียงตัวสระ-พยัญชนะ2. สังเกตการณ์บอกชนิดและบอกชื่อตัวอักษร การบอกคำ การประสมคำ3. สังเกตความตั้งใจในการปฏิบัติกิจกรรม4. ตรวจแบบฝึกเสริมทักษะ
11.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
วัตถุประสงค์ในรายวิชา
........เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้ 1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ 2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ 3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้ 4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้ 5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้ 6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้ 7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ 8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้ 9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้ 10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ 11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้ 12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้ 13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้ 14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้ 15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้ เนื้อหาบทเรียน หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์ หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
12.ดนตรีสำหรับครูประถมศึกษา
การเรียนการสอนดนตรีในระดับประถมศึกษานั้น นักการศึกษาดนตรี แต่ละคน ต่างก็มีจุดมุ่งหมายตรงกัน คือ มุ่งเน้นที่จะสอนให้ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะ ทางดนตรี นอกจากผู้ เรียนจะได้ความรู้ทางด้านดนตรีทั้งด้านทฤษฎีและความรู้ทั่ว ๆ ไปแล้ว การได้สัมผัสดนตรีไม่ว่าจะ ด้วยการร้องรำทำเพลงหรืออย่างไรก็ตาม ยังทำให้ผู้เรียนเกิด สุนทรียรสในดนตรีอีกด้วย อันเป็น การช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้คนในสังคมยุคปัจจุบันมี พัฒนาการที่ดีขึ้น เมื่อมนุษย์มีจิตใจที่สุขสงบ และงดงาม สังคมไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือชุมชน ใดก็ตามจะน่าอยู่ยิ่งขึ้น
การเรียนการสอนดนตรีให้ได้ผลสมความมุ่งหมายนั้นควรตั้งอยู่บน
พื้นฐานแนว คิดทางทฤษฎีดนตรีของนักการศึกษาดนตรีที่มีความรู้และประสบการณ์ เนื่องจากจะทำให้ผู้เรียนมี ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางด้านดนตรีในเวลาอันสั้น โดยไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งนักการศึกษาดนตรีที่ มีชื่อเสียง มีความรู้ทางทฤษฎี มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมี การนำไปใช้ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่แนวคิดของ Emile Jaques – Dalcroze เชื่อว่าการพัฒนาการฟัง ควบคู่ไปกับการตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้าน ดนตรีได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยูริธึมมิกส์ ( Eurthythmics ) เป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักการเคลื่อนไหวทางจัง หวะที่ดีให้เข้ากับจังหวะดนตรี นอกจากนั้นยังมีแนวคิดของ Carl Orff ซึ่งเน้นที่กระบวนการจาก สิ่งที่ง่ายที่สุดก่อนและให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ใช้การเคลื่อนไหวทางกาย ภาพในการเรียนรู้และแสดงออกถึงจังหวะตก อัตราจังหวะ ความเร็วจังหวะ เป็นการได้รับประสบ การณ์ตรง ทำให้เข้าใจองค์ประกอบของดนตรีอย่างลึกซึ้ง แนวคิดของนักการศึกษาดนตรีที่น่าสน ใจอีกแนวคิดหนึ่งคือ Zoltan Kodaly เน้นการร้องเป็นหลัก ซึ่งรวมไปถึงการอ่านโน้ตด้วย โดยใช้ วิธีการต่าง ๆ ในการฝึกฝนการร้องและการอ่านเช่น โทนิคซอล - ฟา สัญญาณมือ สัญลักษณ์ของ จังหวะ เพลงที่ใช้สอนในระยะแรกควรเป็นเพลงพื้นบ้าน เพราะผู้เรียนจะรู้จักดีที่สุด ภายหลังจึงนำ เพลงชั้นสูงที่มีคุณค่ามาใช้ในการเรียนการสอน ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2536 ) จะเห็นได้ว่าแต่ละแนว คิดมีวิธีการสอนและจุดเด่นแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามทั้ง 3 แนวคิดนี้มีเป้าหมายพื้นฐานเช่น เดียวกันคือ การให้ประสบการณ์ทางดนตรีแก่ผู้เรียนแก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงการพัฒนาแนวคิดและ ทักษะทางดนตรีแก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงการพัฒนาแนวคิดและทักษะทางดนตรีอย่างเป็นระบบสำหรับแนวคิดของ Kodaly ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในนานาประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราช อาณาจักร ออสเตรเลีย อาฟริกาใต้ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ในประเทศอเมริกาได้มีการจัดตั้งองค์กร OAKE ( The Organization of American Kodaly Educations ) มีการจัดการประชุมทางวิชาการนานาชาติ เกี่ยวกับดนตรีตามแนวคิดของ Kodaly ที่เรียกว่า IKS ( International Kodaly Society ) ซึ่งมีสมา ชิกมาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ( Kite, 1985 ) และยังดำเนินการจัดประชุมมากทุกปีจนถึงปัจจุบัน
แนวคิดในการสอนดนตรีของ Kodaly นั้นน่าจะเป็นแนวคิดที่เหมาะสมที่สุดสำ หรับการสอนดนตรีในประเทศไทยเรา ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ อันเป็นการขจัดปัญหาของรัฐบาลที่มีงบประมาณให้ไม่เพียงพอ นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านของไทย เราก็เหมาะจะนำมาใช้สอนเพราะเป็นเพลงง่าย ๆ อยู่ในบันไดเสียง Pentatonic คือมีโน้ต 5 ตัว ได้แก่ โด เร มี ซอล ลา แทบทั้งสิ้น จึงสอดคล้องกับหลักการของ Kodaly คือสอนจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ ยาก มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
การเรียนการสอนดนตรีโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษานั้น เราควรคำนึงถึงความ สำคัญในหลักการและวิธีการสอน สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ การให้เนื้อหาและทักษะทางดนตรีที่ครบ ถ้วน อันนำมาซึ่งการมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
ในส่วนของเนื้อหาดนตรี ได้แก่ องค์ประกอบของดนตรีและวรรณคดีดนตรี การ ให้ความรู้ทางดนตรีแก่เด็กในแต่ละกิจกรรมนั้น ผู้สอนควรตระหนักถึงผลที่นักเรียนจะได้รับ โดย การจัดกิจกรรมทางดนตรีที่คำนึงถึงองค์ประกอบของดนตรีอันได้แก่ จังหวะ ทำนอง เสียงประสาน รูปแบบ อารมณ์ของเพลง และแบบของเพลง เมื่อนักเรียนได้รับประสบการณ์ทางดนตรีที่สนุก สนาน ประกอบกับการสอดแทรกองค์ประกอบของดนตรีที่อาจจะผสมผสานกันหรืออย่างใดอย่าง ใด นักเรียนก็จะเกิดการเรียนรู้ทางดนตรีอย่างแท้จริง อันจะทำให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งทาง ดนตรี นอกจากนี้วรรณคดีดนตรีก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนดนตรี อันได้แก่ บทเพลง ในแต่ละยุค ลักษณะของเพลงในแต่ละยุค เป็นต้น และประวัติดนตรีอันได้แก่ ที่มาของบทเพลง ในแต่ละยุค ประวัติของผู้ประพันธ์เพลงในแต่ละยุค สิ่งเหล่านี้หากผู้เรียนได้เรียนรู้ ก็จะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจในบทเพลง เข้าใจองค์ประกอบของดนตรีมากขึ้น และเป็นวิถีทางหนึ่งจะช่วย ให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งดนตรีในที่สุด
สำหรับทักษะทางดนตรี เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการให้ประสบการณ์ทางดนตรีแก่ เด็ก ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีจึงควรให้ประสบการณ์ด้านต่าง ๆ เป็นการให้ เด็กเกิดทักษะดนตรีหลาย ๆ ด้าน ทักษะดนตรีดังกล่าวประกอบด้วย การฟัง การร้องเพลง การอ่าน เขียนโน้ต การเคลื่อนไหวร่างกาย การเล่นเครื่องดนตรี และการคิดสร้างสรรค์
การฟัง เป็นทักษะที่จำเป็นมากสำหรับการเรียนการสอนดนตรี เนื่องจากดนตรี เป็นเรื่องของเสียง ระบบโสตประสาทต้องรับรู้ ดังนั้น การฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการ เรียนการสอนดนตรีทุกระดับ
การร้องเพลง เป็นทักษะดนตรีที่ต้องได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกัน การร้องเพลง เป็นทักษะที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออก ซึ่งต่างกับการฟังเป็นทักษะที่ผู้เรียนต้องรับเข้าไป ดังนั้น การ ร้องเพลงทำให้ผู้เรียนได้แสดงออก ซึ่งสามารถสร้างความสนุกสนานและความสนใจให้กับผู้เรียน ได้เป็นอย่างดีการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาจึงควรมีกิจกรรมการร้องเพลงเป็นแกนสำคัญ ซึ่งอาจจะจัดให้มีการร้องเดี่ยว ร้องหมู่ หรือร้องประสานเสียง ทักษะทางดนตรีที่มีความสำคัญไม่ น้อยไปกว่าการร้องเพลง คือ การอ่านเขียนโน้ต
การอ่านเขียนโน้ต การเขียนควรเป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนหลังจากการอ่าน สำหรับในส่วนของการอ่านโน้ตนั้น เป็นทักษะการอ่านสัญลักษณ์ทางดนตรี จัดได้ว่าเป็นทักษะสำ คัญพื้นฐานประการหนึ่งในการศึกษาดนตรี เนื่องจากดนตรีเป็นเรื่องของเสียง จึงต้องมีการแปล เสียงเป็นสัญลักษณ์เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเสียงต่าง ๆ ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจดนตรี หรือสิ่งที่จะเป็นสื่อในการแสดงออกทางดนตรีจึงมักต้องผ่านขั้นตอนการแปลหรือการใช้สัญลักษณ์ ดนตรีเสมอ ทักษะที่ควรจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนอีกทักษะหนึ่ง โดยเฉพาะผู้เรียนในระดับประถม ศึกษา คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวร่างกาย ถือเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากที่นั่งฟัง ร้องเพลง อ่าน - เขียนโน้ตมาเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานยิ่งขึ้น และยังช่วยพัฒ นาแนวคิดพื้นฐานทางดนตรีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ถ้าหากทางสถานศึกษาสามารถจัดหาเครื่อง ดนตรีซึ่งราคาไม่แพงนักได้ เช่น ขลุ่ยหรืออังกะลุง ก็จะเป็นการดีสำหรับผู้เรียนดนตรีที่จะได้มีโอ กาสแสดงออกทางดนตรี ได้ฝึกทักษะการเล่นดนตรี อันจะทำให้เกิดสุนทรียรสในเพลงของชาติ ตน เพราะการได้สัมผัสกับเครื่องดนตรีด้วยตนเองนับได้ว่าเป็นโอกาสที่จะได้รู้จักดนตรีโดยแท้จริง หลังจากที่ผู้เรียนได้ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นทักษะการฟัง การร้องเพลง การ อ่านเขียนโน้ต การเคลื่อนไหวและการเล่นเครื่องดนตรี นักเรียนก็สามารถที่จะประมวลทักษะต่าง ๆ จนทักษะการคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้ เป็นการส่งเสริมให้เกิดผลงานใหม่ ๆ ตลอดจนแนวความคิด หรือกิจกรรมที่แปลกและน่าสนใจขึ้น
เมื่อผู้สอนได้เห็นความสำคัญของเนื้อหาตลอดจนทักษะที่จะจัดให้แก่ผู้เรียนแล้ว ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งผู้สอนจะต้องคำนึงถึงคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ และมีจุดมุ่งหมายครบถ้วนตามเนื้อหาและทักษะที่ตั้งเป้าประสงค์ไว้ การจัดกิจกรรมดนตรีในระดับ ประถมศึกษาควรเน้นทักษะดนตรี โดยให้ผู้เรียนปฎิบัติทักษะต่าง ๆ ครบทุกทักษะ โดยเน้นทักษะ ใดทักษะหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้ทักษะนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2534 ) การเรียนการสอนดนตรีไม่ควรให้ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาต้องนั่งฟังคำอธิบายเนื้อหาดนตรีอยู่ เป็นเวลานาน เนื่องจากนักเรียนในวัยนี้ยังมีสมาธิในระยะสั้น หากผู้เรียนในวัยนี้ได้รับความสนุก สนานในกิจกรรมนั้น ๆ ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหา และทักษะดนตรีขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
นอกจากนี้ความแตกต่างในเรื่องเพศก็ยังเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ผู้จัดกิจกรรมการ เรียนการสอนควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด โดย ธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ นักเรียนชายจะซุกซนกว่านักเรียนหญิง ดังนั้นกิจกรรมที่จะจัดให้แก่ผู้ เรียนโดยเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหว การเล่นดนตรีควรจะแตกต่างกัน เช่น ในเรื่องของการ เคลื่อนไหวนักเรียนชายจะเคลื่อนไหวว่องไวและโลดโผน แต่นักเรียนหญิงจะเชื่องช้ากว่าและนุ่ม นวล ดังนั้นการจัดกิจกรรมก็ควรจะคำนึงถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้เรียน หรือแม้แต่การเล่น เครื่องดนตรี จะสังเกตเห็นได้ว่านักเรียนชายชอบตีกลอง ซึ่งมีเสียงดังและสามารถออกแรงตีได้ มากกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ในขณะที่นักเรียนหญิงจะสามารถเล่นเครื่องดนตรีจำพวกไทรแอง เกิล ลูกกระพรวน ได้นุ่มนวลกว่า หากการจัดการเรียนการสอนคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้รียนก็ จะได้รับประสิทธิภาพสูงสุด
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรี สำหรับเด็กวัยประถมศึกษา นอกจาก จะคำนึงถึงการให้เนื้อหาและทักษะต่าง ๆ ที่ครอบคลุมแล้วในกระบวนการของการฝึกทักษะต่าง ๆ เรายังสามารถแทรกกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นเกมดนตรีลงในทักษะนั้น ๆ ได้ ( Vajda, 1974 ) ตาม แนวความคิดของโคดาย ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า น่าจะเหมาะสมกับการสอนดนตรีใน เมืองไทยเรา กล่าวคือ โคดายเน้นการสอนจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากและอย่างมีระบบ ( Kite, 1985 ) นอกจากนี้กิจกรรมที่มีลักษณะเป็นเกมดนตรีที่จะจัดให้แก่เด็กในช่วงระดับประถมศึกษา ตาม แนวคิดของโคดายนั้นก็มิได้ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ของเมืองไทยในยุคปัจจุบัน และยังฝึกฝนให้ผู้เรียนมีการได้ยินที่ดี เป็นการฝึกระบบโสตประสาท มีจังหวะในตัวเอง อันเป็นพื้นฐานทางดนตรีที่เด็กในวัยนี้น่าจะได้รับการฝึกฝน เพื่อให้มีพัฒนาการ ที่สูงขึ้นต่อไป
การจัดเกมดนตรีในกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีนั้น ผู้สอนสามารถคิดเกมดน ตรีให้สอดคล้องกับทักษะต่าง ๆ ได้หลายทักษะเช่น เกมการร้อง สามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง ระหว่างทักษะการร้องเพลงและการอ่านโน้ต เกมจังหวะดนตรี สามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง ระหว่างทักษะการเล่นดนตรี การเคลื่อนไหวหรืออื่น ๆ การจะเล่นเกมเหล่านี้ได้ ผู้เรียนก็ต้องอาศัย ทักษะการฟังก่อนทั้งสิ้น และเมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์ในกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มากขึ้น ในที่ สุดก็จะสามารถคิดสร้างสรรค์ผลงานของตนเองขึ้นมาได้
ในที่ผู้เขียนใคร่ของยกตัวอย่างเกมร้องสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาที่เพิ่งเริ่มเรียนดนตรี
เกมนี้เป็นเกมร้องง่าย ๆ ที่ผู้สอนอาจจะให้นักเรียนร้องโน้ตเป็นการพัฒนาเสียง ร้องและเรียนรู้ตัวโน้ต ซอลและมี จากการร้องโน้ตนี้ ผู้สอนอาจจะส่งเสริมการพัฒนาการเคลื่อน ไหวหรือการเล่นเครื่องดนตรีก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่างเกมจังหวะดนตรี ที่ใคร่ขอเสนออีกตัวอย่างหนึ่งคือ
เกมนี้ช่วยพัฒนาเรื่องจังหวะดนตรี นอกจากผู้สอนจะให้นักเรียนได้แบ่งกลุ่มสลับ กันอ่านโน้ตแต่ละข้างแล้ว ผู้สอนยังสามารถที่จะใช้พัฒนาการเล่นดนตรีหรือการเคลื่อนไหวได้อีก ด้วย แม้แต่จะส่งเสริมเรื่องการคิดสร้างสรรค์ด้วยการช่วยกันใส่โน้ตที่เพิ่งเรียนผ่านไปเมื่อเสร็จแล้ว ให้อ่านพร้อมกันก็สามารถทำได้
นอกจากนี้สิ่งที่จะขาดไม่ได้ในการเรียนการสอนดนตรี คือ การวัดผลและประเมิน ผลทางดนตรีซึ่งผู้สอนควรจะวัดและประเมินผลให้ครอบคลุมทั้งความรู้ในเนื้อหาและทักษะดนตรี สำหรับทางด้านทักษะดนตรีอาจจะเป็นการยากสำหรับผู้สอนอยู่บ้างที่จะต้องดูให้รอบคอบ ดังนั้น การวัดทักาะดนตรีจึงควรกำหนดเกณฑ์การประเมินแต่ละทักษะที่ชัดเจน และเมื่อนำไปใช้ผู้สอนก็ ต้องมีความเที่ยงตรงและแม่นยำในการวัด สำหรับความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน ก็นับว่า มีความจำเป็นที่ครูผู้สอนควรจะได้ทราบความคิดเห็นของนักเรียน เพื่อครูจะได้ประสบการณ์ทาง ดนตรีให้เด็กสนใจมากขึ้น
จากการนำเสนอแนวคิดของนักการศึกษาดนตรี ตลอดจนข้อคิดเห็นของผู้เขียน บางประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น น่าจะช่วยให้ผู้สนใจรวมทั้งครูผู้สอนดนตรี ในระดับประถมศึก ษาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนดนตรี เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติให้ก้าว หน้าไปพร้อม ๆ กับความเจริญทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติ
13.นาฏศิลป์สำหรับครูประถมศึกษา
ประวัติ
นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะกำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราชที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ฌ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดูนับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนีเรียกว่าคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมันกรุงศรีอยุธยาตารมประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน
นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี
หรือบางที่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1.1 รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้อมมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็นการแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว
รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
1.2 รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้ เพราะการรำคู่นี้เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน
เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
1.2.1 รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนาสุพรรณมัจฉา เป็นต้น 1.2.2 รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่าการรำอาวุธ รำกระบี่กระบอง 1.3 รำหมู่ รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่นรำอวยพรชุดต่างๆ 1.4 รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร 2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง
เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆเช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆเดียว เป็นต้น ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
2.1 ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้
ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
2.2 ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส
อาจเป็นระบำที่ได้แรงบัลดาลใจที่ผู้ประดิษฐ์ต้องการสื่ออาจเป็นเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลายเช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรราศสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น
ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุด
ได้เกิดขึ้นมาจากแรงบัลดาลใจของผู้คิดที่จะถ่ายทอดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต การแต่งกาย ดนตรี เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้น จะเรียกตาม ภาษาท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่นภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่นป้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่น ทางภาคอิสานเช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว เซิ้งสวิง เป็นต้น การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือ เกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศสามารถปรับปรุงหรื่อเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น
การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
3.1 ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน 3.2 ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต
'
4. มหรสพ' คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น ดนตรีและเพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์ดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย และเพลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทยดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทยประกอบด้วยดนตรีประกอบการแสดงโขน – ละครวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทยคือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้น ๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นต้นดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐานการแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น เครื่องดนตรีทีใช้ประกอบการแสดงอาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบการแสดง จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร อาจนำเครื่องดนตรี ขิมหรือซอด้วง ม้าล่อ กลองต๊อก และกลองแด๋ว มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมืองดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่าง ๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือมีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่ตัด ปี่เล็ก ป้าดไม้ (ระนาดไม้) ป้าดเหล็ก (ระนาดเหล็ก) ป้าดฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ่ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแอว กลองปู่เจ่ กลองปูจา กลองสะบัดไชย กลองมองเซิง กลองเต่งทิ้ง กลองม่าน และกลองตะโล้ดโป้ด เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่าง ๆ คือ วงสะล้อ ซอ ซึง วงปู่จา วงกลองแอว วงกลองม่าน วงปี่จุม วงเติ่งทิ้ง วงกลองปูจาและวงกลองสะบัดไชยดนตรีพื้นเมืองภาคกลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับวงดนตรีหลักของไทยคือ วงปี่พาทย์และเครื่องสาย ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อำนาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น กลองตะโพนและเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว กลองรำมะนาใช้เล่นเพลงลำตัด กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยมใช้ระนาด ซอหรือปี่ เป็นต้นดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานมีเครื่องดนตรีสำคัญ ได้แก่ พิณ อาจเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากตับแต่งและหมากต๊ดโต่ง ซอ โปงลาง แคน โหวด กลองยาวอีสาน กลองกันตรึม ซอกันตรึม ซอด้วง ซอตรัวเอก ปี่อ้อ ปราเตรียง ปี่สไล เมื่อนำมาประสมวงแล้วจะได้วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงโปงลาง วงแคน วงมโหรีอีสานใต้ วงทุ่มโหม่ง และวงเจรียงเมรินดนตรีพื้นเมืองภาคใต้มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก กลองโพน กลองปืด โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง ฆ้องคู่ ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวงภาคใต้ แกระ และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีต้าร์ เบนโจ อัคคอร์เดียน ลูกแซ็ก ส่วนการประสมวงนั้น เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิดเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทยเพลงไทยประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตรฐานเพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย โขน ละคร รำและระบำมาตรฐานนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้เพลงหน้าพาทย์ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย และนำเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ ตระบองกัน เป็นต้นเพลงขับร้องรับส่งคือเพลงไทยทีนำมาบรรจุไว้ในบทโขน – ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละครหรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำแลระบำ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา เพลงนกกระจอกทอง เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวสสุกรรม เพลงแขกตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น เป็นต้นเพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาคดังนี้เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือเพลงประกอบการฟ้อนเล็บได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและสาวสมเด็จ ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊และซอจ๊อยเชียงแสน บรเลง เพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่งและลาวกระแซ เป็นต้นเพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลางเพลงประกอบการเต้นรำกำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้นเพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสานเพลงประกอบการแสดงเซิ้งโปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไทย บรรเลงลายลำภูไทย เป็นต้นเพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้เพลงประกอบการแสดงลิเกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน การแสดงชุดรองเง็งบรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะปิชัง เป็นต้นการแต่งกายนาฏศิลป์ไทยการแสดงนาฏศิลป์ไทยทั้งโขนและละครนั้นได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของบทบาทและการฝึกหัดคือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวละครนั้น นอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งการของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นั้นรับบทบาทแสดงเป็นตัวใด
เครื่องแต่งการนาฏศิลป์ไทยมีความงดงามและกรรมวิธีการประดิษฐ์ที่วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะที่มาของเครื่องแต่งกายนาฎศิลป์ไทยนั้น จำลองแบบมาจากเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ (เครื่องต้น) แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมต่อการแสดง ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
เครื่องแต่งตัวพระคือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้ชายเครื่องแต่งตัวนางคือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นหญิง สำหรับเครื่องแต่งตัวพระและนางนี้ จะใช้แต่งกายสำหรับผู้ระบำมาตรฐาน เช่น ระบำสี่บท ระบำพรหมาสตร์และระบำกฤดาภินิหาร เป็นต้น และยังใช้แต่งกายสำหรับตัวละครในการแสดงละครนอกและละครในด้วย ส่วนในระบำเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำตรีลีลา ระบำไตรภาคี ระบำไกรลาสสำเริง ระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ หรือระบำสัตว์ต่าง ๆ จะใช้เครื่องแต่งกายตามความเหมาะสมกับการแสดงนั้น ๆ เช่น นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบ และสวมชุดไทยต่าง ๆ เป็นต้น ตลอดจนยังมีการแสดงหรือการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นด้วยเครื่องแต่งตัวยักษ์ (ทศกัณฐ์)คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ เป็นเครื่องยักษ์เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน)คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป็นตัวลิงนาฏศิลป์กับบทบาททางสังคมนาฏศิลป์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สร้างสรรค์สุนทรียะด้านจิตใจและอารมณ์ให้กับคนในสังคมและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตและกิจกรรมของคนในสังคม ทั้งที่เป็นกิจกรรมส่วนตัวและกิจกรรมส่วนรวม ดังพิจารณาได้จากบทบาทของนาฏศิลป์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทางด้านต่าง ๆ เช่น บทบาทในพิธีกรรมรัฐพิธีและราชพิธี การแสดงนาฏศิลป์ในพิธีกรรมต่าง ๆ สามารถแสดงถึงความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติของภูตผีปีศาจและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น การฟ้อนรำในพิธีรำผีฟ้าเพื่อรักษาโรค หรือสะเดาะเคราะห์ของภาคอีสาน การฟ้อนผีมดผีเม็งในภาคเหนือ ที่จะมีผู้หญิงมาเข้าทรง เป็นต้น
14.งานเกษตรสำหรับครูระดับประถมศึกษา
งานเกษตร
เครื่องมือเกษตร
1. รู้จักเครื่องมือเกษตร
เครื่องมือเกษตร หมายถึง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการทำงานเกษตร เพื่อให้เกิดการทุ่นแรง และทำให้ได้ผลผลิตที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถทำให้การปฏิบัติงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพมากขึ้น
เครื่องมือทำงานเกษตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับงานดิน 1. จอบ ใช้สำหรับขุดงานดิน พรวนดิน ถากหญ้า ดายหญ้า 2. เสียม ใช้สำหรับขุดหลุม ขุดดิน พรวนดิน 3. พลั่ว ใช้สำหรับตักดิน สาดดิน ตักปุ๋ย 4. ปุ้งกี๋ ใช้สำหรับใส่ดิน ใส่ปุ๋ย เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย 5. คราด ใช้สำหรับเกลี่ยดิน คราดหญ้า หรือคราดขยะไปทิ้ง 2. เครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับงานพืช 1. ช้อนปลูก ใช้สำหรับขุดหลุมปลูก ย้ายต้นกล้า พรวนดิน ตักดิน ตักปุ๋ย 2. ส้อมพรวน ใช้สำหรับพรวนดินให้ร่วนซุย 3. กรรไกรตัดหญ้า ใช้สำหรับตัดหญ้าหรือตัดแต่งหญ้า 4. กรรไกรตัดกิ่ง ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งไม้ให้สวยงาม 5. บัวรดน้ำ ใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้ 6. ถังน้ำ ใช้สำหรับตักน้ำหรือใส่น้ำเพื่อรดน้ำต้นไม้ 7. มีดดายหญ้า ใช้สำหรับดายหญ้าหรือลิดกิ่งไม้
2. การใช้เครื่องมือเกษตร วิธีการใช้เครื่องมือเกษตรอย่างถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือเกษตรให้เข้าใจเสียก่อน 2. ตรวจดูสภาพของเครื่องมือเกษตรให้อยู่ในสภาพดี 3. ใช้เครื่องมือเกษตรอย่างระมัดระวัง และไม่ควรนำมาเล่นหยอกล้อกัน 4. ใช้เครื่องมือเกษตรให้เหมาะสม และตรงกับลักษณะของงาน 5. ไม่ควรนำเครื่องมือที่ชำรุดมาใช้งาน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้
3. การดูแลและเก็บเครื่องมือเกษตร
1. ทำความสะอาดเครื่องมือเกษตรหลังจากใช้งานเสร็จแล้วทุกครั้ง 2. เครื่องมือที่มีคม เช่น จอม เสียม กรรไกรตัดหญ้า ควรลับให้คมอยู่เสมอ 3. เครื่องมือที่เป็นโลหะ ควรทาน้ำมันเพื่อป้องกันสนิม 4. ไม่ควรวางเครื่องมือที่เป็นโลหะหรือสังกะสีไว้กลางแดดกลางฝน เพราะจะทำให้เกิดสนิมได้ง่าย 5. เก็บเครื่องมือให้เป็นระเบียบ และสะดวกต่อการหยิบใช้ |
steve bryce cidley tips - Titanium melting point
ตอบลบsteve bryce titanium flat irons cidley tips - Titanium melting point. microtouch titanium trim This is a steve bryce cidley tips made from an online forum - babyliss pro titanium straightener tip titanium nose hoop tipster with titanium shift knob a wide range of tips for the bet365