วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ทักษะการสอนอ่านภาษาไทย

ทักษะการสอนอ่านภาษาไทย
             
 



                การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ทักษะทางภาษาที่จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ และไม่มีวันสิ้นสุดสามารถฝึกได้เรื่อย ๆ ตามวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ ช่วยปรับปรุงชีวิตให้สดใสสมบูรณ์ ดังคำกล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษที่ว่า “การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์










                               ทักษะการสอนอ่านภาษาไทย

ความหมายของการอ่าน
การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการฟัง ปัจจุบันมีผู้รู้นักวิชาการและนักเขียนนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและงานสร้างสรรค์ ตีพิมพ์ ในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาก นอกจากนี้แล้วข่าวสารสำคัญ ๆ หลังจากนำเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมปัจจุบัน





ความสำคัญของการอ่าน
ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีตัวหนังสือใช้ มนุษย์ได้ใช้วิธีเขียนบันทึกความทรงจำและเรื่องราวต่าง ๆ เป็นรูปภาพไว้ตามฝาผนังในถ้ำ เพื่อเป็นทางออกของอารมณ์ เพื่อเตือนความจำหรือเพื่อบอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย แสดงถึงความพยายามและความปรารถนาอันแรงกล้าของมนุษย์ ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเป็นสัญลักษณ์ที่คงทนต่อกาลเวลาจากภาพเขียนตาม ผนังถ้ำ ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาเขียนและหนังสือ ปัจจุบันนี้หนังสือกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อมนุษย์จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น ปัจจัยอันหนึ่งในการดำรงชีวิตคนที่ไม่รู้หนังสือแม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ เป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความเจริญ ไม่สามารถประสบความสำเร็จใด ๆ ในสังคมได้หนังสือและการอ่านหนังสือจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง คลิกเข้าสู่เนื้อหา



วิธีการของเวเลน
การสอนภาษาไทยแบบเวเล่นมีพื้นฐานจากการเรียนภาษาตามธรรมชาติ อาจารย์ทุกท่านจะสอนคำศัพท์ใหม่ ๆ ก่อน แล้วจึงสอนวิธีการใช้คำ เป็นรูปแบบการสอนแบบถาม-ตอบ เมื่อคุณตอบคำถาม อาจารย์จะช่วยคุณถ้าคำตอบ นั้นๆ ยากเกินไป และหลังจากนั้นจะทบทวนไปเรื่อย ๆ จนกว่าคุณจะทำได้อย่างมั่นใจ อาจารย์จะแก้ไขการออกเสียงและระดับเสียงให้นักเรียนตลอดเวลาในเวลาที่สั้นคุณจะเห็นการพัฒนาภาษาไทย ของคุณได้อย่างรวดเร็ว เริ่มแรกคุณจะเรียนรู้การอ่านภาษาไทยได้อย่างทันที มันง่ายมากกว่าที่คุณคิด คุณจะไม่เรียนการออกเสียงโดยใช้ คำอ่านแบบโรมัน เพราะเราเชื่อว่าเป็นการเรียนที่ผิดและไม่ได้ผล คุณจะเรียนรู้การอ่านและเขียนภาษาไทยจากตัว หนังสือภาษาไทยจริง ๆ การเรียนภาษาไทยที่โรงเรียนเราเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คุณคิด เราขอเชิญคุณทดลองการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบพิเศษนี้ที่โรงเรียนเราโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เรียนภาษาไทยที่ โรงเรียนเราเป็นเรื่องง่ายและสนุก ลองเรียนดูแล้วจะรู้!

คำอธิบายเรื่องวิธีการสอน
                 เป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียวที่นักเรียนจะต้องทำความเข้าใจวิธีการทำงานของระบบการสอบ แบบเวเล่นก่อนที่จะ เริ่มต้นการเรียน โปรดอ่านข้อแนะนำดังต่อไปนี้อย่างละเอียด ถ้าคุณมีข้อสงสัยในบางจุด กรุณาติดต่อสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมกับเราโดยตรง เรายินดีเสมอที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับคุณ ไม่มีความคิดที่เป็นอคติ นักเรียนจะได้รับการสอบถามเพื่อปรับทัศนคติไม่ให้มีอคติเกี่ยวกับเรียนภาษาไทยด้วยวิธีการของเรา ทั้งนี้ก็เพื่อ นักเรียนจะได้รับความสนุกสนานและประโยชน์สูงสุดจากการเรียน การสอนด้วยวิธีการเวเล่น เรายอมรับข้อคิด เห็นจากคุณอย่างเปิดใจ สับสนและไม่คุ้นเคยกับการเริ่มต้นการเรียนแบบเวเล่น นักเรียนบางคนที่เริ่มรู้จักวิธีการสอนแบบเวเล่นรู้สึกว่าตามไม่ทัน พวกเขาคิดว่าเขาไม่สามารถจำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ ในบทเรียนได้เลย อย่างไรก็ดี พวกเขาพยายามและทบทวนซักสองถึงสามบทเรียน พวกเขาจะเริ่มเข้าใจว่ามันง่าย มากและสนุกด้วย ใคร ๆ ก็ทำได้
                    ความลับของความสำเร็จในการเรียนภาษาก็คือการพูดซ้ำ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนซึมซับ จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดเพื่อช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจเมื่อเรียนภาษาก็คือความจำเป็นในการทบทวน พูดซ้ำ ทำซ้ำ อย่างสม่ำเสมอ ปฏิกิริยาตอบกลับโดยอัตโนมัติ การเรียนภาษาก็เหมือนกับการเรียนพิมพ์ดีดหรือเล่นเปียโนซึ่งใช้หลักการของปฏิกิริยาตอบกลับโดยอัตโนมัติและ รวดเร็ว ซึ่งได้จากความเคยชินสู่การกระทำหรือคำพูดอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องคิดมากจนเกินไป ปฏิกิริยาตอบกลับโดยอัตโนมัติสามารถพัฒนาได้ นักเรียนต้องเรียนพูดและอ่านให้มาก ๆ โดยไม่ต้องคิดมากนัก เปียโนไม่มีเวลาที่จะคิดในการสัมผัสนิ้วบนคีย์เปียโนในระหว่างการแสดง การพูดซ้ำโดยอัตโนมัติ ปฏิกิริยาตอบกลับโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็วสามารถพัฒนาได้โดยการพูดซ้ำต้องทำซ้ำจนกว่าปฏิกิริยาตอบกลับ โดยอัตโนมัติจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องคิด เรียนรู้ได้จาก หูฟัง ปากพูด ตาดู มือทำ นักเรียนควรเรียนภาษาต่างประเทศในวิธีเดียวกับการเรียนภาษาของตนเองเมื่อครั้งเป็นเด็ก เด็กได้ยินภาษาก่อน จึงเรียนแบบในสิ่งที่ได้ยิน หลังจากนั้นจึงเรียนการเขียนจากสิ่งที่เห็น และสุดท้ายก็เขียนเองได้ เมื่อเด็กเรียนภาษาของตนเอง เขาจะพูดในสิ่งที่ได้ยินมาซ้ำ ๆ โดยไม่เข้าใจจริง ๆ ว่าตัวเองพูดอะไร แต่มาเข้าใจ ความหมายทีหลัง ดังนั้นมันควรเป็นสิ่งที่นำมาใช้กับการเรียนรู้ภาษา นักเรียนควรลองไม่ต้องคิดมาก หรือ ประมวลผล หรือถามมากเกินไป ทำไมหรือ ก็เพราะว่าเป็นเรื่องยากสำหรับการคิดของผู้ใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยในการ ทำสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริงว่าเขากำลังทำอะไร หรือทำไมเขาต้องทำ แต่การถามมากเกินไป เป็นการถ่วงเวลาในการเรียนภาษาที่ถูกต้องของเขา การเรียนภาษาให้ได้ผลและรวดเร็วจำต้องใช้การเลียนแบบไม่ ใช่การอธิบาย ความจำไม่ดีก็สามารถเอาชนะได้โดยการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
ศัตรูตัวสำคัญที่สุดของการเรียนภาษาคือ ความเบื่อหน่ายและความจำที่แย่ แต่ด้วยวิธีการสอนแบบเวเล่น คุณจะ สามารถเอาชนะความน่าเบื่อด้วยความเร็ว และความจำที่แย่ด้วยการทบทวน การทบทวนไม่ใช่ว่าจะทำให้ความ เร็วในการพูด ในการเข้าใจและในการอ่านดีขึ้น แต่ยังสามารถทำให้นักเรียนจำในสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้น ไม่ว่าความจำ ของเขาจะแย่แค่ไหน ทดลองเรียนฟรี เรายินดีต้อนรับคุณมาที่โรงเรียนของเรา และทดลองเรียนกับเราด้วยวิธีการสอนแบบพิเศษนี้ รับลองได้ว่าคุณจะ สนุกกับการเรียนภาษาไทยกับเรา เรียนภาษาไทยสนุกสนานด้วยวิธีการแบบวาเล่น

การสอนภาษาไทยแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
   บทเรียนในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยในบทหนึ่งๆ จะจัดแนวการสอนเหมือนกันทุกบทตามลำดับดังนี้
-  การสอนอ่านในใจ
- การอ่านออกเสียง
-  การใช้ภาษาและหลักภาษา
-  การเขียนเชิงสร้างสรรค์
-  พัฒนาทักษะทางภาษา
-  การอ่านบทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรอง อ่านเสริมบทเรียน หรือการสอนซ่อมเสริม
-  การสอนภาษาไทยตามขั้นตอนดังกล่าวนี้ ครูต้องส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการแสวงหาความรู้ อ่านตามลำพัง กระบวนการทำงานกลุ่ม กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กระบวนการวางแผน กระบวนการแก้ปัญหา ครูต้องยึดกระบวนการสอนเป็นหลักโดยใช้หนังสือแบบเรียนเป็นสื่อ หนังสืออ่านประกอบที่ครูและนักเรียนจัดทำขึ้นและหนังสือที่ใช้สำหรับค้นคว้า เช่น พจนานุกรมการสอนภาษาไทยแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อ่านแล้วสามารถแยกแยะวิเคราะห์ได้ ใช้วิธีแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจึงจะมีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากกว่าที่ครูจะเป็นผู้บอก ฝึกให้ผู้เรียนแก้ปัญหาเป็นทีม ให้ร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาจนติดเป็นนิสัย จึงจะทำให้เด็กมีจิตสำนึกช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อจะได้ไปช่วยกันพัฒนาประเทศชาติต่อไปด้วยความซื่อสัตย์

 
                                         


ความสามารถในการฟัง
             ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักฟังแล้ววิเคราะห์ วิจารณ์ จดบันทึกจากการฟัง การจดบันทึกจากการฟังจะเป็นพื้นฐานการเรียนชั้นสูงๆ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมาก การฟังจึงจำเป็นต้องนำมาจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน อาจจะฟังนิทาน บทความ สารคดี ความรู้ ความบันเทิง ฟังการอภิปราย ฝึกให้ฟังอย่างมีวิจารณญาณจึงจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ความสามารถในการอ่านในใจ
การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนต้องได้ปฏิบัติจริงอย่างถูกต้องในการอ่านจึงจะติดเป็นนิสัย สามารถบันทึกจากการอ่านในใจได้ จับใจความได้ แยกแยะวิเคราะห์ เมื่อมีข้อสงสัยก็สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ โดยไม่ต้องให้ผู้อื่นมาคอยบอกหรืออธิบาย ช่วยตัวเองได้ตลอดเวลา อ่านแล้วต้องรู้แนวคิด ข้อคติเตือนใจของเรื่องที่อ่าน
ความสามารถในการเขียน
ผู้เรียนต้องมีความสามารถในการเขียนเรียงความ นิทาน บทร้อยกรอง เขียนตามคำบอก เขียนเล่าเรื่อง เขียนรายงาน ตอบคำถามได้ เขียนคำขวัญ เขียนบันทึกความรู้จากการอ่านและการฟังได้ ฝึกให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง และเสาะแสวงหาความรู้ ศึกษาด้วยตนเองเพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด




ความสามารถในการพูด
              การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญต้องฝึกให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงในการพูดออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน ฝึกการพูด อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ ฝึกพูดสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความที่พูด ฝึกการพูดเล่านิทาน แสดงละคร เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนชั้นสูงๆ

ความสามารถในการอ่านออกเสียง
             การสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องฝึกให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติการอ่านจนเกิดทักษะ การอ่านบทร้อยกรอง อ่านข่าว อ่านบทความ อ่านประกาศโฆษณา ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกจนเกิดทักษะจึงจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี
                         

                                       


                                          แหล่งที่มา :  http://www.oknation.net

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น