วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 การปฐมพยาบาล

                                     การปฐมพยาบาล





การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น นำมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น ควรทำการปฐมพยาบาลให้เร็วที่สุดหลังเกิดเหตุโดยอาจทำได้ในทันที หรือระหว่างการนำผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่รักษาพยาบาลอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ก่อนที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาล





การปฐมพยาบาล


 การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น นำมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น ควรทำการปฐมพยาบาลให้เร็วที่สุดหลังเกิดเหตุโดยอาจทำได้ในทันที หรือระหว่างการนำผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่รักษาพยาบาลอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ก่อนที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาล

     การปฐมพยาบาล มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
          1. เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่างๆในขณะนั้น
          2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
          3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
          4. เพื่อป้องกันความพิการ หรือความเจ็บปวดอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง

     ขอบเขตของผู้ทำการปฐมพยาบาล
     ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
     1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
          1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
          1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
          1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น
     2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
          2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนต์ เป็นต้น
          2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
          2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น

    ตัวอย่างเช่น
 
                                                                 

  


ผงเข้าตา
อย่าขยี้ตา รีบลืมตาในน้ำสะอาด และกลอกตาไปมาถ้ายังไม่ออก ให้คนช่วยใช้มุมผ้าเช็ดหน้าเขี่ยออก ถ้าไม่ได้ควรไปพบแพทย์

    







                                               









ไฟฟ้าช๊อต
รีบปิดสวิทซ์ไฟทันที ถ้าทำได้
ถ้าไม่สามารถปิดสวิทซ์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่ถูกไฟช๊อต ให้ยืนในที่แห้งแล้วใช้สิ่งไม่นำไฟฟ้า เช่นไม้ เก้าอี้ไม้ เขี่ยออกจากตัวผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้วให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
 
  







                                                     








งูพิษกัด 
ดูรอยแผล จะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด (ถ้างูไม่มีพิษกัดจะเป็นรอยถลอกให้ทำแผลแบบแผลถลอก)
ใช้เชือกหรือเข็มขัดหรือยางรัดเหนือแผล (ระหว่างแผลกับหัวใจ)ให้แน่นพอสมควรอย่าแน่นมาก
ให้นอนนิ่ง พูดปลอบใจอย่าให้กลัว
ห้ามให้ดื่มสุรา ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท
รีบพาไปพบแพทย์ ควรนำงูไปด้วย6.ถ้าหยุดหายใจ ให้เป่าปากช่วยหายใจ
การเป่าปากช่วยหายใจ
วางผู้ป่วยนอนหงาย
ใช้ของหนุนไหล่ให้สูง หรือใช้มือยกคอให้สูงขึ้นโดยให้ศีรษะตกหงายไปข้างหลัง
อ้าปากออก เช็ดน้ำมูกน้ำลาย และล้วงเอาของในปากออก
ผู้ช่วยหายใจหายใจเข้าเต็มปอดของตน
อ้าปากคร่อมไปบนปากผู้ป่วย
                                                             

                                                   
       
   
  
 
แมลงเข้าหู  
ควรพาเข้าไปในที่มืด แล้วใช้ไฟฉายส่อง (แมลงจะออกมาตามแสง) หรือเอาน้ำหยอดให้แมลงลอยน้ำขึ้นมาหรือใช้น้ำมันหรือกรีเซอรีนบอแรกซ์หยอดหู แมลงจะตายในหูแล้วเขี่ยหรือคีบออกมา
ถ้ามีประวัติหูน้ำหนวกข้างนั้น หรือทำตามดังกล่าวไม่ได้ผล ควรรีบไปพบแพทย์






       
     
 

 เลือดกำเดา
ให้นั่งนิ่ง หงายศรีษะไปด้านหลัง หรือนอนหนุนไหล่หรือศีรษะให้สูง
ใช้ผ้าสะอาดม้วนอุดรูจมูกข้างนั้น หรือใช้มือบีบจมูกทั้งสองข้าง ให้หายใจทางปากแทน
วางน้ำแข็งหรือผ้าเญ้นบนสันจมูก หน้าผากใต้ยากระไกร
ถ้าเลือดไม่หยุด ควรรีบไปพบแพทย์
ถ้าออกบ่อย อาจเป็นความดันโลหิตสูง ควรปรึกษาแพทย์
           
         







กลืนเหรียญ หรือสิ่งของแล้วติดหลอดลม
ถ้าพบในเด็กเล็ก จับห้อยศรีษะลงต่ำ ตบหลังแรง ๆ ให้เด็กไอออกมา
ถ้าพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จับพาดตักหรือโต๊ะให้ศรีษะต่ำและก้มหน้าลงแล้วตบหลังบริเวณระหว่างสะบัก 2 ข้าง หรือใช้วิธีรัดท้องอัดยอดอก
ถ้ายังไม่ออกให้พาไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
             
           









 กรดหรือด่างเข้าตา
อย่าขยี้ตา รีบล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ และหลาย ๆ ครั้ง
รีบพาไปหาหมอ
ห้ามใช้ด่างหรือกรดไปล้างฤทธิ์ เพราะยิ่งจะมีอันตรายต่อดวงตามากขึ้น
             
             




 กระดูกหัก
วางอวัยวะส่วนนั้นลงบนแผ่นไม้ หรือกิ่งไม้หรือนิตยสารที่หนา ๆ
ใช้ผ้าพันยึดไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว
ถ้าเป็นที่ปลายแขนหรือมือ ใช้ผ้าคล้องคอ
           
         



                                                                               











การห้ามเลือด 
ถ้าบาดแผลเล็ก กดปากแผลด้วยผ้าสะอาด
ถ้าบาดแผลใหญ่ ใช้ผ้า เชือก หรือสายยางรัดเหนือแผล (ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ) ให้แน่น              





 


                                                           







การปฐมพยาบาลเบื้องต้น






                                                  แหล่งที่่มา :  http://110.164.64.137

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น